แนวทางการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านในพื้นที่อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ชลธิชา ชุมศรีแก้ว
เขมณัฐ ภูกองไชย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


         บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านในพื้นที่อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี 2) หาแนวทางในการยกระดับกองทุนหมู่บ้านในพื้นที่อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ถูกคัดเลือกมาแบบเจาะจง รวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มเฉพาะ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ พัฒนาการจังหวัดอุดรธานี 1 คน พัฒนาการอำเภอกุดจับ 1 คน กองทุนหมู่บ้านระดับตำบล 7 คน และสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน 3 คน รวมทั้งสิ้น 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์เนื้อหาและสรุปผลรายด้าน


          ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหา สาเหตุของปัญหา การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านในพื้นที่อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี รายด้านได้แก่ การบริหารจัดการด้านผู้นำ การบริหารจัดการด้านการมีส่วนร่วม การบริหารจัดการด้านการจัดสรรผลประโยชน์ และการบริหารจัดการด้านการเข้าถึงและตรวจสอบข้อมูลกองทุน พบว่า ผู้นำกองทุนหมู่บ้านเป็นบุคคลที่ความรู้ ความสามารถ เข้าใจในระเบียบข้อบังคับ ขาดการมีส่วนร่วมในการระดมความคิดเห็น มีการจัดสรรผลประโยชน์ตามหมวดหมู่โดยใช้หลักธรรมาภิบาล และพบปัญหาน้อยในเรื่องการบริหารจัดการด้านการเข้าถึงและการตรวจสอบกองทุน เนื่องจากมีเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนเป็นพี่เลี้ยง 2. แนวทางในการยกระดับกองทุนหมู่บ้านในพื้นที่อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ กล่าวคือ ผู้นำต้องมีความใฝ่รู้ในด้านการบริหารงาน เสียสละ ซื่อสัตย์ สุจริต ทันต่อเทคโนโลยี ต้องจัดเวทีการประชุมประชาคม เพื่อให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น เพราะสมาชิกคือหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนกองทุน เพื่อสร้างระเบียบข้อบังคับด้านการจัดสรรผลประโยชน์ และกองทุนต้องมีระบบการติดตามและสรุปผลเป็นปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

จุฑามาศ นิรมลรัตน์. (2560). ปัจจัยความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้านอ้อมแก้ว หมู่ที่ 9 ตำบลมาบโป่ง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต วิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน รัฐประศาสนศาสตร วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธิดาพร อินชุม. (2554). ปัญหาด้านการจัดทำบัญชีและการควบคุมภายในกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง: กรณีศึกษา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. ใน การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิทยากร เขื่อนแก้ว. (2547). การดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านในอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน. ใน การค้นคว้าแบบอิสระ ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศรัญยา ไม่เสื่อมสุข และ คณะ. (2560). ปัจจัยเอื้อต่อการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านที่ประสบความสำเร็จ: กองทุนหมู่บ้านห้วยผักชี ตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 14. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สายชล ปัญญชิต. (2555). การพัฒนากองทุนหมู่บ้านไปสู่สถาบันการเงินชมุชน : ความรู้และข้อเสนอ สู่ความจริง. กรุงเทพมหานคร : สำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ. (2563). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2563. เรียกใช้เมื่อ 11 ตุลาคม 2565 จาก http://www.villagefund.or.th/uploads/gallery/ image_big_609dea52d43ec.pdf.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2544). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร แถลงต่อรัฐสภา. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 118 ตอนพิเศษ 21 ง (26 กุมภาพันธ์ 2544).

สุภาชนก เหล็กกล้า. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ตำบลลาดสวาย อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาพัฒนสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 39(2), 109-119.

สุลังก์ วงศ์สุรวัฒน์ และคณะ. (2562). การบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองระดับดีมาก: กรณีศึกษาจังหวัดนครปฐม. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์, 7(3), 888-898.