การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักพระพุทธศาสนาของสภาเครือข่ายประชาชนอีสาน (สอส.) สภาประชาชน 4 ภาค ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

พระปรีชา ถิรปุญฺโญ (สีหะอำไพ)
พระครูพิศาล สารบัณฑิต
สมเดช นามเกตุ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียงกับหลักพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาสภาเครือข่ายประชาชนอีสาน (สอส.) สภาประชาชน 4 ภาค ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักพระพุทธศาสนาของสภาเครือข่ายประชาชนอีสาน (สอส.) สภาประชาชน 4 ภาค ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสัมภาษณ์เชิงสึก โดยใช้เครื่องมือการวิจัย คือ วิเคราะห์เอกสารเกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับหลักพุทธศาสนา แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย ประกอบด้วย พระสงฆ์ ผู้นำโครงการ และประชาชนที่เป็นสมาชิกสภาเครือข่ายประชาชนอีสาน (สอส.) สภาประชาชน 4 ภาค จำนวน 25 คน


ผลการวิจัย พบว่า สภาเครือข่ายประชาชนอีสาน (สอส.) สภาประชาชน 4 ภาค ตำบลเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา เป็นการรวมกลุ่มเพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนและการสร้างภูมิคุ้มกันให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืนตามแนวทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของรัชกาลที่ 9 แก่สมาชิกภายในกลุ่มและได้ขับเคลื่อนกิจกรรมสำหรับปลดเปลื้องห่วงโซ่แห่งหนี้ สภาเครือข่ายประชาชนอีสาน (สอส.) สภาประชาชน 4 ภาคได้ดำเนินการตามนโยบายให้สัมฤทธิ์ผล โดยอาศัยการบริหารจัดการตามธรรมนูญของสภาเครือข่ายประชาชนอีสาน (สอส.) สภาประชาชน 4 ภาค เพื่อสร้างความเข้มแข็ง และแก้ปัญหาแบบยั่งยืนตามแนวพระราชดำรัส รวมถึงการประยุกต์ใช้หลักพุทธรรมในการดำเนินวิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วบหลักสันโดษ หลักโภควิภาคธรรม หลักโภคอาทิยธรรม หลักกามโภคีสุข สุขของคฤหัสถ์หรือคิหิสุข หลักพรหมวิหาร 4 และหลักฆราวาสธรรม ด้วยวิธีการเรียนรู้ ความเข้าใจและวางแผน เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มั่นคงและยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กัลยานี ปฏิมาพรเทพ. (2543). ครูชบา ยอดแก้ว ครูภูมิปัญญาไทย : นักเศรษฐศาสตร์ชุมชน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ต้นอ้อ.

ประเวศ วะสี. (2542). เศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม แนวทางพลิกฟื้นเศรษฐกิจสังคม. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน.

พระครูนิมิตวรธรรม (พรม ธมฺมวโร – หมั่นนึก). (2560). การวิเคราะห์หลักเศรษฐกิจพอเพียงของนายผาย สร้อยสระกลาง กับเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักพุทธธรรม. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูอาทรประชาสรรค์ (บุญชัด ชนาสโภ). (2560). ศึกษาการประยุกต์หลักธรรมเพื่อสนับสนุนหลักปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงตามพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุจินต์ ชูลักษณ์. (2544). การประเมินผลการฝึกอบรมหลักสูตรเกษตรผสมผสานตามแนวทฤษฎีใหม่. ใน ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพัฒนาสังคม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อานนตรี ประสมสุข. (2563). การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักพระพุทธศาสนาของปราชญ์ชาวบ้าน ตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.