แนวทางการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองคาย

Main Article Content

บรรพต นันท์โพธิ์เดช
ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของทักษะในศตวรรษที่ 21 และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาครูให้มีความสามารถในการส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองคาย การวิจัยนี้เป็นการวิจับแบบผสมผสาน แบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 เป็นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ประชากร คือ ผู้บริหารและครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองคาย 501 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง 217 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็น ระยะที่ 2 เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยนำเอาข้อมูลจากระยะที่ 1 มากำหนดประเด็นคำถามสำหรับสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อหาแนวทางการพัฒนาครู


         ผลการศึกษาพบว่า สภาพปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าสภาพที่พึงประสงค์เป็นรายด้านทุกด้าน โดยด้านความต้องการจำเป็นภาพรวม เรียงจากมากไปหาน้อย 4 ด้าน โดยด้านที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ ทักษะความร่วมมือและการทำงานเป็นทีม สำหรับแนวทางการพัฒนาครูให้สามารถส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัย มีแนวทางดังนี้ 1. สร้างทัศนคติที่ดีและส่งเสริมองค์ความรู้ให้กับครูในเรื่องที่เกี่ยวกับทักษะในศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัยด้านทักษะด้านความร่วมมือและการทำงานเป็นทีม 2. วางแผนเกี่ยวกับการพัฒนาครูให้มีความรู้ เทคนิค วิธีการ ในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีพื้นฐานในการพัฒนาทักษะนี้ 3. ส่งเสริมให้มีระบบการประเมินด้านทักษะด้านความร่วมมือและการทำงานเป็นทีม เพื่อนำผลการประเมินของเด็กปฐมวัยมามาสร้างระบบพัฒนาการครูต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

จารุทัศน์ วงข้าหลวง. (2563). Covid 19 กับศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็ก. เรียกใช้เมื่อ 6 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.jarutus.com.

ฉัตรชัย หวังมีจงมี. (2560). สมรรถนะของครูไทยในศตวรรษที่ 21. วารสาร Journal of HR intelligence, 12(2), 47-63.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2556). การเรียนรูในยุคสมัยหน้า : ตอนอนาคตครูพันธ์ C. เรียกใช้เมื่อ 7 พฤษภาคม 2565 จาก http://ww.thanompo.edu.cmu.ac.th/load/journal.

นันธิยา ไทยสมบูรณ์. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะการสอนของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21. ใน ดุษฎีนิพนธ์สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิจารณ์ พานิช. (2555). องค์แห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพมหานคร : ตถาตาพับบลิเคชัน.

วิภาวี ศิริลักษณ์. (2557). การพัฒนาตัวชี้วัดของนักเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(4), 155-165.

สุริยา ฆ้องเสนาะ. (2558). การศึกษาของเด็กปฐมวัย หัวใจสําคัญของการศึกษา. เรียกใช้เมื่อ 7 พฤษภาคม 2565 จาก https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/520902.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Krejcie & Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 608-609.

Pearson Education ,Inc. (2009). Empowering 21st century learners. เรียกใช้เมื่อ 3 พฤษภาคม 2565 จาก http://www.pearsonschool.com/index.cfmMlocator= PSZjZc.

Smartsheet. (2020). A Winning Combination: Collaborative Teamwork Equals Teamwork and Collaboration. เรียกใช้เมื่อ 7 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.smartsheet.com /collaborative-teamwork.

The Partnership for 21st Century Skills 2011. Framework for 21st Century Learning. เรียกใช้เมื่อ 7 พฤษภาคม 2565 จาก http://www. P.21.org.