ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดการขยะรีไซเคิลของประชาชน ในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลการจัดการขยะรีไซเคิลของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการขยะรีไซเคิลที่มีประสิทธิผลของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย 3) เสนอแนะแนวทาง วิธีการ ในการจัดการขยะรีไซเคิลที่มีประสิทธิผลในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อยู่ในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย กลุ่มตัวอย่างประชากรคำนวณโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์พหุคูณแบบถดถอยเชิงเส้นที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิผลการจัดการขยะรีไซเคิลของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย อยู่ในระดับน้อย ทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วยด้านการคัดแยก ด้านการเก็บรวบรวม และด้านการกำจัด จากการวิเคราะห์โดยสมการพหุคูณถดถอยเชิงเส้น พบว่า อายุ รายได้เฉลี่ยของครัวเรือน ปัจจัยด้านแรงจูงใจ และปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม มีผลต่อการจัดการขยะรีไซเคิลที่มีประสิทธิผลของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย ข้อเสนอแนะต่อการจัดการขยะรีไซเคิลที่มีประสิทธิผลของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหนองคาย ได้แก่ การสร้างแรงจูงใจต่าง ๆ ให้ประชาชนจัดการขยะรีไซเคิลอย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินการตามขั้นตอนและกระบวนการการมีส่วนร่วม รวมถึงการสร้างภาคีเครือข่ายที่ประกอบด้วยภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาคราชการและภาคเอกชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์โดย วารสารศึกษิตาลัย วัดศรีสุมังคล์
เลขที่ 962 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทร. 086-8894578
E-mail : Sjmcunk@gmail.com
Website :https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ
References
เอกสารอ้างอิง
กรมควบคุมมลพิษ. (2559). แผนแม่บทการจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (2559-2564). เรียกใช้เมื่อ 9 มิถุนายน 2565 จาก https://www.pcd.go.th/publication/5061.
กรมควบคุมมลพิษ. (2563). รายงานสถานการณ์ สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2563. เรียกใช้เมื่อ 9 มิถุนายน 2565 จาก https://www.pcd.go.th/publication/ 14745.
กิตติ มีศิริ. (2559). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนเกตุไพเราะ3,4,5 เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร. ใน รายงานการค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะสำหรับนักบริหาร คณะรัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทศวร อาภรณ์พงษ์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
นฤมล ด่านตระกูล. (2560). พฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลขนงพระ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ. มหาวิทยาลัยบูรพา.
นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2565). การบริหารจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย (Solid Waste Management of Local Administrative Organizations in Thailand). วารสารสิ่งแวดล้อม, 26(1), 1-7.
รัตนา พรชนรัตน์. (2559). สถานการณ์ขยะมูลฝอยเทศบาลเมืองหนองคายปี 2559. เทศบาลเมืองหนองคาย nongkhaimunicipality. เรียกใช้เมื่อ 1 มิถุนายน 2565, จาก https://shorturl. asia/cgIZU.
วันวิสาข์ คงพิรุณและคณะ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะในหมู่บ้านโป่งปะ ตําบลแก่งโสภา อําเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 26(2), 310-321.
ศราวุฒิ ทับผดุง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอยครัวเรือนในเขต องค์การบริหารส่วนตำบลที่ไม่มีการบริหารจัดการขยะมูลฝอย อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักงานสิ่งแวดล้อม ภาค 9. (2565). หนังสือ สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 9 (อุดรธานี). ที่ ทส.0205(09)/30 ลงวันที่ 5 มกราคม 2565 เรื่อง ส่งผลการศึกษาองค์ประกอบขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดหนองคาย.