ภาพลักษณ์ของกลุ่มศิลปินหญิง วง 4EVE ผ่านสื่อสังคมออนไลน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบของภาพลักษณ์กลุ่มศิลปินและการนำเสนอภาพลักษณ์ของกลุ่มศิลปินหญิงวง 4EVE ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ซึ่งพิจารณาจากการเป็นกลุ่มศิลปินหญิงที่ได้รับความนิยมในประเทศไทยและได้รับรางวัลจากสถาบันที่ได้รับความนิยมในวงการเพลง ระหว่างปี 2021-2022 คือ ศิลปินหญิงวง 4EVE ซึ่งศึกษาผ่านสื่อสังคมออนไลน์อย่างเป็นทางการของกลุ่มศิลปิน 2 ประเภท คือ มิวสิควิดีโอและการแสดงบนเวที ผ่านยูทูบช่อง 4EVE และรายการ 4EVE Vlog ผ่านเฟซบุ๊กด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอผลที่ได้ในรูปแบบของการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบของภาพลักษณ์กลุ่มศิลปิน ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ ความจริงใจ ความกระตือรือร้น ความสามารถส่วนบุคคล ความหรูหรามีระดับ ความแข็งแกร่ง และทักษะความสามารถของศิลปินนักร้อง โดยการนำเสนอภาพลักษณ์ของกลุ่มศิลปินหญิงวง 4EVE ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ มิวสิควิดีโอและการแสดงบนเวที ผ่านยูทูบช่อง 4EVE โดยพิจารณาเลือกศึกษาจากเพลงของกลุ่มศิลปินหญิงวง 4EVE ที่ติดอันดับมาแรง และถูกจัดอยู่ใน Thai Pop Hitlist ในยูทูบ จำนวน 3 เพลง ได้แก่ เพลงสิ่งเล็กน้อย เพลง Boutchya และเพลงข้อยกเว้น พบภาพลักษณ์กลุ่มศิลปินเพียง 2 องค์ประกอบ คือ ด้านทักษะความสามารถของศิลปินนักร้อง และด้านความหรูหรามีระดับ ด้านการนำเสนอภาพลักษณ์ในรายการ 4EVE Vlog ผ่านเฟซบุ๊ก จำนวน 21 ตอน พบภาพลักษณ์กลุ่มศิลปินทั้ง 6 องค์ประกอบในทุกตอนของรายการ คือ ความจริงใจ ความกระตือรือร้น ความสามารถส่วนบุคคล ความหรูหรามีระดับ ความแข็งแกร่ง และทักษะความสามารถของศิลปินนักร้อง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์โดย วารสารศึกษิตาลัย วัดศรีสุมังคล์
เลขที่ 962 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทร. 086-8894578
E-mail : Sjmcunk@gmail.com
Website :https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ
References
เอกสารอ้างอิง
กานต์พิชชา เศรษฐวัฒน์ และกาญจนา แก้วเทพ. (2554). พัฒนาการของบอยแบนด์ไทยระหว่างปี พ.ศ. 2535-2552. วารสารนิเทศศาสตร์, 29(2), 50-68.
จุติมาศ เกลี้ยงเกลา. (2556). การศึกษาภาพลักษณ์ของกลุ่มศิลปินนักร้องเกาหลีใต้ผ่านสื่อใหม่และพฤติกรรมแฟนคลับ. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์และสารสนเทศ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชลนิภา รุ่งเรืองศรีและจารุณี มุมบ้านเซ่า. (2562). กระแสชื่นชอบเคป๊อป (K-POP) เกาหลีในประเทศไทย. ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.
ณัฐนิชา ดนัยดุษฎีกุล และคณะ. (2564). การศึกษารูปแบบความชอบของแฟนคลับชาวไทยที่มีต่อศิลปินไอดอลไทยและเกาหลี. วารสารนวัตกรรมธุรกิจ การจัดการ และสังคมศาสตร์, 2(2), 35-49.
นริศรา อุดมสินค้า และพรทิพย์ เย็นจะบก. (2563). การสื่อสารและการรับรู้ภาพลักษณ์ของกลุ่มศิลปินวง BNK48 ต่อแฟนคลับ. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. มหาวิทยาลัยรังสิต.
นาถตินันท์ เกลี้ยงเกลา. (2558). การสร้างแบรนด์ของค่ายกามิกาเซ่และศิลปินในสังกัดผ่านสื่อสังคมออนไลน์. ใน วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ใบบุญ วจนอักษร. (2561). ทำไม “ติ่ง” : มองความติ่งจากมุมจิตวิทยา. เรียกใช้เมื่อ 15 สิงหาคม 2565 จาก https://becommon.co/culture/kpop-fan-vol2/.
ปราณ สุวรรณทัต. (2563). การกลับมาของกระแสปั้น Girl Group สัญชาติไทย ความสำเร็จที่ต้องรอดูต่อไปในระยะยาว. เรียกใช้เมื่อ 20 กรกฎาคม 2565 จาก https://brandinside.asia/thai-music-label-try-to-debut-girl-group-again/.
ภัทรจิระ พิสิฐมุกดา. (2560). การสร้างบุคลิกภาพ ภาพลักษณ์และแบรนด์บุคคลของศิลปินในยุคดิจิทัล. ใน การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจบันเทิงและการผลิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สุพัฒน์ ศิวะพรพันธ์. (2564). ความสำเร็จของ 4EVE ตลอดปี 2021. เรียกใช้เมื่อ 20 กรกฎาคม 2565 จาก https://thestandard.co/4eve-achievements-throughout-2021/.
TODAY PLAY workpoint. (2565). 4EVE คว้ารางวัลศิลปินหน้าใหม่แห่งปี (Best New Artist). จากงาน JOOX.