การบริหารจัดการวัดตามหลักธรรมาภิบาลในเขตปกครองสงฆ์ อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ

Main Article Content

วุฒิพงษ์ พิมพ์ธาตุ
วินัย ผลเจริญ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของพระภิกษุสามเณร ในการบริหารจัดการวัดตามหลักธรรมาภิบาล ในเขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ 2) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของพระภิกษุสามเณร ในการบริหารจัดการวัดตามหลักธรรมาภิบาล ในเขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พระสงฆ์และสามเณร ในเขตปกครองคณะสงฆ์ อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ จำนวน 169 รูป กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสูตรสำเร็จของ Krejcie และ Morgan ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า 1) พระสงฆ์และสามเณรมีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการวัดตามหลักธรรมาภิบาลในเขตปกครองสงฆ์ อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัญหาและข้อเสนอแนะของพระภิกษุสามเณร ในการบริหารจัดการวัดตามหลักธรรมาภิบาลในเขตปกครองสงฆ์ ด้านนิติธรรม ควรมีการวางกฎระเบียบของวัด ในการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะตามหลักพระธรรมวินัย ด้านคุณธรรม ควรมีการจัดกิจกรรมอบรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมขึ้นในวัด ด้านความโปร่งใส การจัดซื้อ - จัดสร้าง สิ่งต่าง ๆ ภายในวัด ควรเป็นไปตามแบบแผน ด้วยความบริสุทธิ์ โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ด้านความการมีส่วนร่วม ควรเปิดโอกาสให้พระสงฆ์สามเณรและประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการวัด ด้านความรับผิดชอบ ควรปรับปรุงระบบการศึกษาของพระสงฆ์สามเณร ด้านหลักความคุ้มค่า การจัดซื้อ - จัดสร้าง ต้องคำนึงถึงความคุ้มค่า และการก่อให้เกิดผลประโยชน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กรมการศาสนา. (2540). คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยการคณะสงฆ์และการพระศาสนา. กรุงเทพมหานคร : การศาสนา.

เจริญ เจษฎาวัลย์. (2547). การตรวจสอบธรรมาภิบาล ทฤษฎีและภาคปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : พอดีจำกัด.

พระมหาดนัย วงศ์พรหม (ธมฺมพุทฺธี). (2556). ความสัมพันธ์ของธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลในการบริหารวัด ในเขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

พระมหาบัณฑิต นิสาภัย. (2550). หลักธรรมาภิบาลกับการบริหารจัดการวัด : กรณีศึกษาวัดวนาราม พระอารามหลวงตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

พระอธิการผจญ อาจาโร (ทนันจง). (2553). ศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการบริหารวัดโดยใช้หลักธรรมาภิบาล : ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมบูรณ์ ศิริประชัย. (2552). ประวัติความเป็นมาของคําว่า "ธรรมาภิบาล" และพัฒนาการธรรมาภิบาลภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์. เรียกใช้เมื่อ 19 พฤษภาคม 2563 จากhttp://midnightuniv.tumrai.com/midnighttext/0009999823.html.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). สภาวะทางสังคม วัฒนธรรม และสุขภาพจิต. เรียกใช้เมื่อ 18 พฤษภาคม 2563 จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/News/2561/N21-09-61-1.aspx.

สุดจิต นิมิตกุล. (2543). “กระทรวงมหาดไทยกับการบริหารจัดการที่ดี” ใน การการปกครองที่ดี (Good Governance). กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.

แสวง รัตนมงคลมาศ. (2541). การระดมมวลชนและการมีส่วนร่วมของมวลชน การจัดตั้งขององค์กรการนำและการตัดสินใจทางสังคม. กรุงเทพมหานคร : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อารยา กอบความดี. (2551). การบริหารวัดตามหลกัธรรมาภิบาล : กรณีศึกษาวัดสามพราน จังหวัด นครปฐม. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบณัฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.