ความสัมพันธ์ของการจัดการระดับหมู่บ้านกับการดำเนินงานของตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม

Main Article Content

ศิริบังอร นนทภา
สิทธิพรร์ สุนทร
วัชรินทร์ สุทธิศัย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการจัดการระดับหมู่บ้านของตำบลขามเรียง 2) เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานของตำบลขามเรียง 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการจัดการระดับหมู่บ้านกับการดำเนินงานของตำบลขามเรียง และ 4) เพื่อเสนอแนะการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการระดับหมู่บ้านในการดำเนินงานของตำบลขามเรียง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ คณะกรรมการหมู่บ้าน ในตำบลขามเรียง ประชากร จำนวน 246 คน และกลุ่มตัวอย่าง จำนวน  161 คน โดยคำนวณได้จากสูตรของทาโร ยามาเน ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง โดยวิธี Enter ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 


ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการจัดการระดับหมู่บ้านของตำบลขามเรียง โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับการดำเนินงานของตำบลขามเรียง โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ของการจัดการระดับหมู่บ้านกับการดำเนินงานของตำบลขามเรียง โดยภาพรวม พบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .924 (R = .924) ตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถอธิบายการผันแปรของตัวแปรตามได้เท่ากับร้อยละ 85.3 มีค่า R2 = .853 และมีค่า F = 180.152 ซึ่งแสดงว่า ตัวแปรอิสระมีความสัมพันธ์กับการดำเนินงานของตำบลขามเรียง 4) ข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการระดับหมู่บ้านในการดำเนินงานของตำบลขามเรียง คือ ควรมีการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอยภายในตำบล ภายในหมู่บ้านอย่างสม่ำเสมอ ควรมีการดำเนินงานเกี่ยวกับการปราบปรามยาเสพติดที่เกิดขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2554). รัฐไทยในทศวรรษหน้า. กรุงเทพมหานคร : ทีพีเอ็น เพรส.

ที่ว่าการอำเภอกันทรวิชัย. (2565). ทะเบียนคณะกรรมการหมู่บ้าน ตำบลขามเรียง. มหาสารคาม : ที่ว่าการอำเภอกันทรวิชัย.

เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์. (2554). แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ การจัดการ และการจัดการทรัพยากรมนุษย์. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาองค์การและการจัดการทรัพยากรมนุษย์ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธรรมภณ จิรธรรมประดับ. (2544). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับฐานะกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและการออกจากตำแหน่ง. ใน วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และคณะ. (2546). บทบาทอำนาจหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และการปกครองท้องที่. ใน รายงานวิจัย, สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2557. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 131 ตอนพิเศษ 143 ง. หน้า 1-38 (30 กรกฎาคม 2557)..

วิชัย ชัย นาคสิงห์. (2565). หลักการจัดการ. เรียกใช้เมื่อ 4 พฤศจิกายน 2565 จาก https://www.gotoknow.org/posts/345600.

สมคิด บางโม. (2562). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สุวรรณ์ มาลี. (2552). การปฏิบัติงานของกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามบทบาทหน้าที่ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี.

อภิชาติ เทพชมพู. (2553). การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในเขตอำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Dalf, R. (2006). The New Era of Management: International Edition. Ohio : Thompson.

Fayol, Henri. (1949). General and Industrial Management. London : Sir Isacc Pitman & Sons.

Taro Yamane. (1973). Statistic : An Introductory Analysis. 3rd ed. New York : Harper and Row Publications.

Williams, Walter. (1971). Social Policy Research and Analysis : The Experience in the Federal Social Agencies. New York : American Elsevier Publishing Co.