แนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ : กรณีศึกษาโรงเรียนชุมพลโพนพิสัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย

Main Article Content

รัฐยากรณ์ ทองโท
สิทธิชัย สอนสุภี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          บทความวิจัยนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนชุมพลโพนพิสัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย โดยใช้รูปแบบกรณีศึกษา ผู้วิจัยจึงเลือกโรงเรียนที่มีความโดดเด่นได้รับรางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน รางวัลการตรวจประเมินภายในยอดเยี่ยมเป็นกรณีศึกษา และเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลที่มีการแข่งขันสูง โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบวิเคราะห์เอกสาร ผู้วิจัยได้นำเครื่องมือการวิจัยเสนอผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและการใช้ภาษาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิควิเคราะห์เนื้อหา สร้างความน่าเชื่อถือข้อมูลโดยใช้หลักการตรวจสอบสามเส้าและหลักสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนชุมพลโพนพิสัยมีแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ดังนี้ 1) กำหนดมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนโดยยึดหลักการบริหารอย่างมีส่วนร่วม 2) จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาที่เห็นภาพชัดเจนปฏิบัติได้จริง 3) จัดระบบบริหารและสารสนเทศด้วยกระบวนการบริหารงานคุณภาพ PDCA+A โดยยึดหลัก 5Ps และ Chumphol Model 4) ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาโดยมีการประชุมสร้างความเข้าใจก่อนปฏิบัติจริง 5) ติดตามผลการดำเนินงานผ่านหัวหน้ากลุ่มงานและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้เพื่อพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพ ภาคเรียนละ 1 ครั้ง 6) ประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในโรงเรียน ภาคเรียนละ 1 ครั้ง 7) จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา 8) ส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กาญจนา ทองจบ. หัวหน้ากลุ่มงานบริหารงบประมาณ แผนงาน และสารสนเทศ. (17 กุมภาพันธ์ 2566). การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียน. (รัฐยากรณ์ ทองโท, ผู้สัมภาษณ์).

กุลทรัพย์ เลิศทวีสิน, อัจฉรา นิยมาภา, และพร้อมพิไล บัวสุวรรณ. (2562). แนวทางการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในตามกรอบนโยบายการปฏิรูประบบการประเมินและประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในสถานศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์ TCI ก.2 มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 1(30), 201-215.

โชติ จันทร์วัง, พงศ์เทพ จิระโร และเสกสรรค์ ทองคำบรรจง. (2562). การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในอย่างยั่งยืนโดยบูรณาการกับงานปกติ สำหรับสถาบันการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรีของสถาบันวิชาการป้องกันประเทศกองบัญชาการกองทัพไทย. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 10(1), 80-95.

ทิพวรรณ โนนตูม. ตัวแทนผู้ปกครองโรงเรียนชุมพลโพนพิสัย. (15 กุมภาพันธ์ 2566). การส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง. (รัฐยากรณ์ ทองโท, ผู้สัมภาษณ์).

นาตยา สุขเอม และจินดา ศรีญาณลักษณ์. (2563). รูปแบบการพัฒนากระบวนการการบริหารการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 41. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 32(2), 108-122.

นิรมล รอดไพ วรกฤต เถื่อนช้าง และปฏิธรรม สําเนียง. (2565). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23. วารสารวิจัยวิชาการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครสวรรค์, 5(6), 75-86.

เบญจมาศ แจ่มทุ่ง. เจ้าหน้าที่งานประกันคุณภาพ. (17 กุมภาพันธ์ 2566). การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน. (รัฐยากรณ์ ทองโท, ผู้สัมภาษณ์).ปานตะวัน ประวิเศษ. ตัวแทนครูโรงเรียนชุมพลโพนพิสัย. (7 กุมภาพันธ์ 2566). การกำหนดมาตรฐานการศึกษา. (รัฐยากรณ์ ทองโท, ผู้สัมภาษณ์).

ปาริฉัตร เทียนทิพย์. รองผู้อำนวยการโรงเรียนชุมพลโพนพิสัย. (9 กุมภาพันธ์ 2566). การจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียน. (รัฐยากรณ์ ทองโท, ผู้สัมภาษณ์).

พระครูธรรมรัตนาภรณ์. ตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษา. (17 กุมภาพันธ์ 2566). การจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน. (รัฐยากรณ์ ทองโท, ผู้สัมภาษณ์).

พิพัฒน์ ศรีสุขพันธ์. ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมพลโพนพิสัย. (7 กุมภาพันธ์ 2566). การกำหนดมาตรฐานการศึกษา. (รัฐยากรณ์ ทองโท, ผู้สัมภาษณ์).

ไพลิน ประเสริฐศรี. เจ้าหน้าที่งานประกันคุณภาพ. (15 กุมภาพันธ์ 2566). การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียน. (รัฐยากรณ์ ทองโท, ผู้สัมภาษณ์).

ภณัฐพงศ์ พลมุข และจักรกฤษ โพดาพล. (2561). สภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต19. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 3(3), 363-376.

ภัทรวรรณ คำแปล. (2565). การประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มยุรีย์ แพร่หลาย, ชญาพิมพ์ อุสาโห และวรรณี แกมเกตุ. (2561). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 1(1), 23-46.

ลดาวัลย์ ตั้งมั่น. (2561). การดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4 จังหวัดปทุมธานี. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วรพล ศิลาคม. ตัวแทนนักเรียนโรงเรียนชุมพลโพนพิสัย. (10 กุมภาพันธ์ 2566). การจัดระบบบริหารและสารสนเทศของโรงเรียน. (รัฐยากรณ์ ทองโท, ผู้สัมภาษณ์).

วรรณภา นันทะแสง, ประคอง พลสิทธิ์,พัชรินทร์ อุทัยฉัตร, และประมวล อุ่นเรือน. (2564). การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภูเขต 1. JBER มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น, 7(3), 277-290.

วลิตพร จิโนทา. (2562). การเตรียมความพร้อมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในรอบใหม่ (พ.ศ.2557-2561) ระดับหลักสูตรและระดับคณะ กรณีศึกษาหน่วยงาน/คณะที่จัดการเรียนการสอน ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์ลำปาง. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์ลำปาง.

วิทยา ศรีวิเศษ. รองผู้อำนวยการโรงเรียนชุมพลโพนพิสัย. (15 กุมภาพันธ์ 2566). ด้านการจัดระบบบริหารและสารสนเทศของโรงเรียน. (รัฐยากรณ์ ทองโท, ผู้สัมภาษณ์).

สิทธิชัย สอนสุภี. (2565). การประกันคุณภาพการศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.

สุภาพรรณ์ หลงทะเล. (2561). การศึกษาแนวทางส่งเสริมการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาด้านการดำเนินการของครู สพม. 31. วารสารดุษฎีบัณฑิตสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 8(1), 135–149.สุภาวดี ผาตะเนตร. รองผู้อำนวยการโรงเรียนชุมพลโพนพิสัย. (15 กุมภาพันธ์ 2566). การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียน. (รัฐยากรณ์ ทองโท, ผู้สัมภาษณ์).

สลับ หัดคำหมื่น. รองผู้อำนวยการโรงเรียนชุมพลโพนพิสัย (17 กุมภาพันธ์ 2566). การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในโรงเรียน. (รัฐยากรณ์ ทองโท, ผู้สัมภาษณ์).

อารีรัตน์ วานิช. เจ้าหน้าที่งานประกันคุณภาพ. (15 กุมภาพันธ์ 2566). การส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง. (รัฐยากรณ์ ทองโท, ผู้สัมภาษณ์).

อัชรา สุวรรณรอด. หัวหน้ากลุ่มสาระการงานอาชีพ. (17 กุมภาพันธ์ 2566). การประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในโรงเรียน. (รัฐยากรณ์ ทองโท, ผู้สัมภาษณ์).

อนุชาติ ทองจบ. หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขพลศึกษา. (15 กุมภาพันธ์ 2566). การติดตามผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา. (รัฐยากรณ์ ทองโท, ผู้สัมภาษณ์).

อินทิพร จิรฐานิด. หัวหน้าฝ่ายงานประกันคุณภาพ. (15 กุมภาพันธ์ 2566). การติดตามผลการดำเนินงานเพื่อพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา. (รัฐยากรณ์ ทองโท, ผู้สัมภาษณ์)

Lucander & Christersson. (2020). Engagement for quality development in higher education: a process for quality assurance of assessment. Routledge Taylor & Francis Group ROUTLEDGE. QUALITY IN HIGHER EDUCATION, 26(2), 135 – 155.

Phumphakhawat Phumphongkhochasorn. (2020). EDUCATIONAL QUALITY ASSURANCE AND SCHOOL MANAGEMENT STANDARDS ACCORDING TO INTERNATIONAL. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 4(2), 108–123.