แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย

Main Article Content

ธนบัตร กองแก้ว
สิทธิชัย สอนสุภี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริง สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำการปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารและครูจำนวน 285 คน โดยระยะที่ 1 เป็นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ระยะที่ 2 เป็นการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ


          ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพที่เป็นจริงสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำการปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยระดับสภาพที่เป็นจริง อยู่ในระดับมาก ( = 3.69) ค่าเฉลี่ยระดับสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.58) ความต้องการจำเป็นภาพรวมพบว่าค่า PNIModified อยู่ระหว่าง 0.208 ถึง 0.279 ความต้องการจำเป็นมากที่สุดลำดับที่ 1 คือ ด้านการฟังอย่างลึกซึ้ง ลำดับที่ 2 คือ ด้านการสร้างความกลมเกลียว ลำดับที่ 3 คือ ด้านการสร้างวิสัยทัศน์แบบองค์รวม 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการปรับเปลี่ยนของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า 1) ผู้บริหาร ควรสร้างบรรยากาศการทำงานให้ครูสบายใจ 2) ผู้บริหารจูงใจให้ครูที่มีความเชื่อต่างกันสามารถทำงานร่วมกันได้ 3) ผู้บริหารให้คำชื่นชมครู 4) ผู้บริหารให้กำลังใจครูเมื่อทำงานผิดพลาด 5) ผู้บริหารรับฟังความคิดเห็นของครู 6) ผู้บริหารให้ความสำคัญกับครูทุกคน 7) ผู้บริหารตัดสินใจอย่างมีเหตุผล 8) ผู้บริหารแก้ปัญหาด้วยวิธีใหม่ 9) ผู้บริหารวางแผนล่วงหน้า 10) ผู้บริหารสามารถจัดการความขัดแย้ง 11) ผู้บริหารให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ 12) ผู้บริหารเป็นแบบอย่างด้านการเสียสละ 13) ผู้บริหารนำผลการปฏิบัติงานมาปรับปรุงการทำงาน 14) ผู้บริหารมีการแบ่งงานที่ชัดเจน 15) ผู้บริหารส่งเสริมและพัฒนาครู

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย. แผนกลยุทธ์หรือแผนพัฒนาหน่วยงาน 2564–2568. เรียกใช้เมื่อ 3 ตุลาคม 2565 จาก https://www.sesaonk.go.th/?page_ id=11951.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2564). “รมว.ศธ.” ร่วมระดมสมองกูรูการศึกษา ฝ่าวิกฤติการศึกษาช่วงโควิด-19. เรียกใช้เมื่อ 3 ตุลาคม 2565 จาก https://otepc.go.th/th/content_page/item/3446-19-2.html.

สุวัฒน์ จุลสุวรรณ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการปรับเปลี่ยนกับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bradberry, T. & Greaves, J. (2012). Are You an Adaptive Leader. Retrieved October 3, 2022, form https://www.talentsmarteq.com/articles/are-you-an-adaptiveleader/.

Hadar, L. (2020). Rethinking teacher education in a VUCA world : student teachers’ social-emotional competencies during the Covid-19 crisis. Retrieved October 3, 2022, form https://shorturl.asia/TmoNI.

Heifetz, R. & Linsky, M. (2009). The practice of adaptive leadership : Tools and tactics for changing your organization and the world. Harvard Business Press.

Hoerudin, H. (2020). Adaptive leadership in digital era [n.p.] : Universitas Islam Negeri Sunan Gunung Djati (SGD) Bandung.

Hogan, R. (2008). The adaptive leadership maturity model. Organization Development Journal, 26(1), 10-34.

Northouse, P.G. (2016). Leadership : Theory and practice. 7th ed. Thousand Oaks : CA: Sage.

Yeo, J.S. (2021). In praise of COVID-19 : discovering adaptive leadership in unprecedented times. Australia : University of South Australia.