ปัจจัยการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

สรวิศ แม้นเหมือน
สมเกียรติ เกียรติเจริญ
รังสรรค์ อินทน์จันทน์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับปัจจัยการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เพื่อศึกษาปัจจัยการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี และเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัจจัยการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหก อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หัวหน้าหรือตัวแทนครัวเรือนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหก จำนวน 373 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นตรง โดยวิธี Enter ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับการพัฒนา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลคลองหก มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .541 (R = .541) ตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถอธิบายการผันแปร ร้อยละ 29.2 มีค่า R2 = .292 และมีค่า F = 38.017 แสดงว่า ตัวแปรอิสระส่งผลต่อการพัฒนา และ 4) ข้อเสนอแนะปัจจัยการมีส่วนร่วมของประชาชน คือ ควรเพิ่มโอกาสในการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการตัดสินใจในการเสนอปัญหาและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ควรให้ประชาชนได้ร่วมเป็นกรรมการในการดำเนินงานตามแผนพัฒนาอย่างทั่วถึง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาลด้วยการบริการจัดหางาน. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงแรงงาน.

คะนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม และคณะ. (2548). ตัวอย่างเทคนิคการมีส่วนร่วมของประชาชนและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง. นนทบุรี : สำนักวิจัยและพัฒนาสถาบันพระปกเกล้า โครงการฝึกอบรมเกี่ยวกับการวางแผนและการจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง.

ไตรรัตน์ กอใหญ่. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(4), 263-276.

ถวิลดี บุรีกุล. (2543). แนวคิดของการมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร : เออาร์บิซิเนส.

ธนาศักดิ์ กรณีกิจ. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาชก อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี. ใน วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองและการบริหารจัดการ. มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2550). แนวคิดแนวทางการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงมหาดไทย.

ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2541). กระบวนการและเทคนิคการทำงาน . กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ภูริชาญ สิงห์นิลและบุญเหลือ บุปผามาลา. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 4(2), 27-38.

องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหก. (2565). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา พ.ศ. 2561-2565 (ฉบับที่ 2). ปทุมธานี : องค์การบริหารส่วนตำบลคลองหก.

อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับนักบริหารท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร : จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.

Williams, Walter. (1971). Social Policy Research and Analysis : The Experience in the Federal Social Agencies. New York : American Elsevier Publishing Co.

Yamane Taro. (1973). Statistics an Introductory Analysis. 3rd ed. New York : Harper and Row.