การใช้เหตุผลเพื่อพัฒนาชีวิตตามแนวคัมภีร์มิลินทปัญหา

Main Article Content

พระเสกสรรค์ ฐานยุตฺโต (ศรีทน)
พระครูปริยัติกิตติวรรณ (กิตฺติวณฺโณ/ได้ทุกทาง)
พระอธิการอำพน จารุโภ (ดาราศาสตร์)
พระครูสุตธรรมาภิรัต (สุธมฺมาภิรโต/ยืนยง)
ทวีศักดิ์ ทองทิพย์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์การใช้เหตุผลเพื่อพัฒนาชีวิตตามแนวคัมภีร์มิลินทปัญหา จากการศึกษาเชิงเอกสาร พบว่า มิลินทปัญหาเป็นชื่อคัมภีร์ที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่เกิดจากการประยุกต์ทางปัญญา และความคิดในการหาเหตุผลมาประกอบใช้ระหว่างพระเจ้า          มิลินท์กับพระนาคเสนในข้อสงสัยต่าง ๆ หรือความไม่รู้จริงของพระเจ้ามิลินท์ที่มีต่อพระพุทธศาสนา ดังนั้น พระนาคเสนก็ได้ทำให้แจ่มแจ้งเป็นที่พอใจแก่พระเจ้ามิลินท์ จึงทำให้วรรณคดีปุจฉาวิสัชนาเกิดขึ้นในโลกนี้ และมีความสำคัญไว้เป็นแนวในการวิสัชนาปัญหาต่าง ๆ เป็นการหาเหตุผลที่อาศัยข้อสังเกตหรือผลจากการทดลองจากหลาย ๆ อย่างมาสรุปเป็นคำตอบ และเป็นการนำความรู้ขั้นพื้นฐานที่อาจเป็นข้อตกลง เป็นกฎ หรือบทนิยาม เป็นสิ่งที่รู้มาก่อนและยอมรับว่าเป็นจริง เพื่อหาเหตุผลนำไปสู่คำตอบ และเป็นกระบวนการที่นำไปสู่ความสำเร็จได้นั้น จำต้องอาศัยหลักธรรม เรียกว่า หลักไตรสิกขา ประกอบด้วย 1) ศีล คือ การพัฒนาพฤติกรรมให้ตั้งอยู่ในระเบียบวินัย เกื้อกูลกันและกัน 2) สมาธิ คือ การพัฒนาจิตใจให้เข็มแข็ง มั่นคง เจริญงอกงามด้วยคุณธรรมทั้งหลาย 3) ปัญญา คือ การพัฒนาความรู้เป็นการเจริญปัญญา เพื่อให้เข้าใจตามความเป็นจริงรู้เท่าทันโลก รู้ชีวิตตามสภาวะตามความเป็นจริง และสามารถทำจิตใจให้บริสุทธิ์ หมดจดจากกองกิเลสกองทุกข์สิ้นเชิงได้ ซึ่งจัดเข้ากับหลักไตรสิกขา 3 ระดับ ได้แก่ ระดับต้น คือ การพัฒนาพฤติกรรม (ศีล) ระดับกลาง คือ การพัฒนาจิตใจ (สมาธิ) และระดับสูง คือ การพัฒนาความรู้ (ปัญญา)

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เอกสารอ้างอิง

พระครูสังวรสมาธิ (ประเดิม โกนโล) รวบราม. (2510). บทเรียนไตรภูมิพระร่วง. ชลบุรี : โรงพิมพ์ลูกกำพร้า.

พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ). (2546). วิปัสสนา-ญาณโสภณ. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพมหานคร : ศรีอนันต์การพิมพ์.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2540). ความสำคัญของพระพุทธศาสนา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2555). พุทธธรรม ฉบับขยายความ. (พิมพ์ครั้งที่ 32). กรุงเทพมหานคร : กองทุน ป.อ.ปยุตฺโต เพื่อเชิดชูธรรม.

พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2534). คุณธรรมสำหรับนักบริหาร. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิพุทธธรรม.

พระศรีคัมภีรญาณ (สมจินต์ วันจันทร์). (2559). พุทธปรัชญา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเสกสรรค์ ฐานยุตโต (ศรีทน). (2564). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการพัฒนาคุณธรรมของนักเรียนโรงเรียนขุขันธ์ราษฎร์บำรุง อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. ใน วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2536). คัมภีร์มิลินทปัญหา ฉบับแปลมหามงกุฎราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

รัตนาภรณ์ อาจกมล. (2562). การให้เหตุผลทางพระพุทธศาสนาในคัมภีร์มิลินทปัญหา. วารสารชัยภูมิปริทรรศน์, 2 (3), 1-9.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์.

สมัคร บุราวาศ. (2552). ปัญญาจุดกำเนิดและกระบวนการพัฒนาทางปัญญาของมนุษย์ชาติ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานพิมพ์สยาม.

สุทธิพร บุญส่ง. (2549). คุณธรรม จริยธรรมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต. กรุงเทพมหานคร : ทริปเพิ้ลเอ็ดดูเคชั่น จำกัด.