การจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาในโลกศตวรรษที่ 21

Main Article Content

พระครูสมุห์หัตถพร ปิยธมฺโม (คำเพ็ชรดี)
พระมหาอำพล ธนปญฺโญ (ชัยสารี)
พระครูปริยัติรัตนาลงกรณ์ (สิงหา มุ่งหมาย)
พระมหานิพิฐพนธ์ จิรวฑฺฒโน (วงค์อนุ)

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


         การจัดการเรียนการสอนเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการสอนที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และสังคมอย่างรวดเร็ว การจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21 จึงต้องนำเสนอหลักการ กระบวนการ และวิธีการที่สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทั้งนี้เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง โดยมีการลงมือปฏิบัติและพัฒนาทักษะทางด้านต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และสามารถอยู่ร่วมกันกับคนในสังคมได้อย่างเต็มตา นอกจากนี้ยังต้องสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและซับซ้อน โดยการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการปรับตัวที่จะช่วยให้สามารถอยู่รอดและประสบความสำเร็จในสังคมที่เปลี่ยนแปลง


          การจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาต้องมีการบูรณาการกับวิชาอื่น ๆ เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะที่จะนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ พร้อมกับการมีทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในสังคมของศตวรรษนี้ เช่น การคิดวิเคราะห์ การทำงานร่วมกัน และการเข้าใจวัฒนธรรมที่หลากหลาย. การใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสำคัญในการเข้าถึงแหล่งความรู้จึงควรเน้นการเรียนรู้ที่มีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และครูเป็นผู้นำทางในการสืบค้นความรู้ ควรเน้นกระบวนการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติในทุกสาระ โดยการออกแบบกิจกรรมอย่างชัดเจน มีอิสระที่จะเลือกสิ่งที่พอใจ มีความต้องการดัดแปลงสิ่งต่าง ๆ ให้ตรงตามความพอใจของตนเอง สร้างนวัตกรรม การส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านทางปัญหา การคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาการเน้นการเรียนรู้ผ่านการประสบการณ์ ที่ตัวผู้เรียนสามารถนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสุข

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ธนวัฒน์ ศรีไพโรจน์, ดุษฎี โยเหลา และปิยดา สมบัติจินดา. (2561). อิทธิพลของโปรแกรมการโค้ชการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มีต่อสมรรถนะของครูผู้สอน. Veridian E-Journal,Silpakorn University, 11(2), 96-110.

ปานวาด อวยพร. (2557). Active Learning หมายถึงอะไร. เรียกใช้เมื่อ 6 ตุลาคม 2566 จาก https//shorturl.asia/a53fR.

พระสิทธิชัย รินฤทธิ์และสุรีพร ชาบุตรบุณฑริก. (2563). การจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาในศตวรรษที่ 21. Journal of Roi Kaensarn Academi, 5(2), 204-212.

เยาวเรศ ภักดีจิตร. (2557). Active Learning กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. เอกสารประกอบการเสวนาทางวิชาการ “วันส่งเสริมวิชาการสู่คุณภาพการเรียนการสอน” 30 กรกฎาคม 2557 ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. จังหวัดนครสวรรค์ 2557, 1 – 8.

ราชกิจจานุเบกษา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก หน้า 2 (19 สิงหาคม 2542).

วิจารณ์ พาณิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์ สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพมหานคร : เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จำกัด.

วิภาพรรณ พินลา. (2560). แนวทางการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 30(1), 13-34.

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และคณะ. (2556). การจัดทำยุทธศาสตร์ศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ. ใน รายงายวิจัย. มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2559). สกอ.พัฒนานักศึกษาสู่ Thailand 4.0. อนุสารอุดมศึกษา, 43(462), 10-13.

เอกนฤน บางท่าไม้. (2561). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหา เป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาในรายวิชาการถ่ายภาพดิจิทัลสาหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, SilpakornUniversity, 11(1), 30-51.

Saylor, Galen J., Alexander, William, M., & Lewis, Arthur, J. (1981). Curriculum Planning for better Teaching and Learning. (4th ed.). New York Holt : Rinehart and Winston.