สวัสดิการของสังคมผู้สูงอายุกับสิทธิตามกฎหมาย

Main Article Content

เพิ่ม หลวงแก้ว
ฉัตรชัย รือหาร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


         บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับสวัสดิการของสังคมผู้สูงอายุและสิทธิตามกฎหมาย โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบสวัสดิการของสังคมผู้สูงอายุและสิทธิตามกฎหมาย และศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับข้อเสนอแนะแนวทางมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหากฎหมายเกี่ยวกับสิทธิและสวัสดิการของสังคมผู้สูงอายุ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีดำเนินการวิจัยโดยศึกษาจากเอกสารและรายงานทางวิชาการ


          การวิจัยพบว่า สิทธิผู้สูงอายุได้รับการรับรองและคุ้มครองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2560 แต่ยังไม่มีกฎหมายที่บัญญัติรับรองสวัสดิการและสิทธิของผู้สูงอายุไว้อย่างชัดเจน จึงเสนอว่า ควรมีรูปแบบและการจัดองค์กรในการบังคับใช้กฎหมาย โดยการแก้ไขปัญหาการจัดสรรและการใช้งบประมาณให้เพียงพอ กำหนดนโยบายในการจัดสวัสดิการและสิทธิแก่ผู้สูงอายุที่ชัดเจน ให้เกิดความหลากหลายและเหมาะสมแก่ผู้สูงอายุที่มีพื้นฐานแตกต่างกัน จัดกลุ่มผู้สูงอายุเป็นประเภทที่ไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ และประเภทที่มีรายได้เพียงพอ กำหนดเป็นนโยบายแห่งชาติ จัดตั้งองค์กรกำกับดูแลในระดับชาติและท้องถิ่น โดยกำหนดสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้สูงอายุอย่างชัดแจ้ง และไม่ก่อให้เกิดปัญหาในการตีความอันจะเป็นผลเสียต่อผู้สูงอายุ และกระจายอำนาจงานด้านสวัสดิการผู้สูงอายุจากราชการส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่น เช่นเดียวกับสหราชอาณาจักร สวีเดน และญี่ปุ่น รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 โดยกำหนดให้มีการประกันการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวและดูแลผู้สูงอายุ ณ ที่อยู่อาศัย การคุ้มครองแรงงานผู้สูงอายุที่แตกต่างจากการคุ้มครองแรงงานทั่วไป การจัดสรรงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยตรง และการจัดงบประมาณสนับสนุนในการรวมตัวจัดตั้งองค์กร กลุ่ม หรือชมรมของผู้สูงอายุ อย่างเพียงพอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2558). สิทธิและสวัสดิการผู้สูงอายุ. เรียกใช้เมื่อ 30 ตุลาคม 2566 จาก https://www.dop.go.th/th/benefits/3/765

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2564). สังคมผู้สูงอายุในปัจจุบันและเศรษฐกิจในประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 30 ตุลาคม 2566 จาก https://www.dop.go.th/th/know/15/926.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). สถานการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์สารสนเทศและการสื่อสาร.

กิตติสุดา กิตติศักดิ์กุล และเกียรติพร อำไพ. (2562). มาตรการคุ้มครองทางกฎหมายเรื่องการจ้างผู้สูงอายุในแรงงานกึ่งฝีมือและแรงงานไร้ฝีมือ. วารสารรัชต์ภาคย์, 13 (30), 173-187.

จำลอง ศรีประสาธน์. (2540). การประกันสังคม. เรียกใช้เมื่อ 30 ตุลาคม 2566 จาก https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/999.

ดวงใจ เชยชม และพรชัย เลื่อนฉวี. (2560). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย. วารสารการเมืองการปกครอง, 7(1), 207-227.

เทวัญ อุทัยวัฒน์. (2563). สังคมสูงวัยสู่อนาคตประเทศไทย. เรียกใช้เมื่อ 5 ตุลาคม 2566 จากhttps://www.thaipost.net/main/detail/70965.

ประสาน บุญโสภาคย์ และคณะ. (2564). กฎหมายและการปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและสวัสดิการของผู้สูงอายุไทย. วารสารเกษมบัณฑิต, 22 (1), 123-141.

ภัทรพงษ์ เกตุคล้าย และวิทัศน์ จันทรโพศรี. (2555). ปัจจัยที่มีความสำพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพ อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 19(2), 55-64.

ภุชพงค์ โนดไธสง. (2561). สถิติบอกอะไร ผู้สูงวัยปัจจุบันและอนาคต. เรียกใช้เมื่อ 1 ตุลาคม 2566 จาก https://www.posttoday.com/pr/547428.

ราชกิจจานุเบกษา. (2546). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. เล่ม 120 ตอนที่ 130 ก หน้า 1 (31 ธันวาคม 2546).

ราชกิจจานุเบกษา. (2546). พระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546. เล่ม 120 ตอนที่ 94 ก หน้า 1 (1 ตุลาคม 2546).

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). การสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. เรียกใช้เมื่อ 1 ตุลาคม 2566 จาก https://www. catalog.nso.go.th/dataset/0704_01_0014.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2557). นโยบายของรัฐบาล (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี). เรียกใช้เมื่อ 5 ตุลาคม 2566 จาก https://www.eppo.go.th.

อังศินันท์ อินทรกําแหง. (2551). การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับความเครียดและการเผชิญความเครียดของคนไทย. ใน รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.