แนวทางการเสริมสร้างความจงรักภักดีต่อองค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริง สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของความจงรักภักดีต่อองค์กรของครู 2) เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างความจงรักภักดีต่อองค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูจำนวน 266 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์
ผลการวิจัยพบว่า สภาพที่เป็นจริงของความจงรักภักดีต่อองค์กรของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า สภาพที่เป็นจริงมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าสภาพที่พึงประสงค์เป็นรายด้านทุกด้าน โดยความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างความจงรักภักดีต่อองค์กรของครู เรียงลำดับองค์ประกอบที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด ลำดับที่ 1 ได้แก่ ด้านพฤติกรรมที่แสดงออกต่อองค์กร (PNIModified = 0.517) ลำดับที่ 2 ได้แก่ ด้านการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร (PNIModified = 0.512) ลำดับที่ 3 ได้แก่ ด้านการรับรู้เป้าหมายและค่านิยมขององค์กร (PNIModified = 0.489) และลำดับที่ 4 ได้แก่ ด้านความรู้สึกผูกพันต่อองค์กร (PNIModified = 0.432) ผลการศึกษาแนวทางการเสริมสร้างความจงรักภักดีต่อองค์กรของครูที่สำคัญ ดังนี้ 1) การมอบหมายงานพิเศษให้เหมาะกับบุคคล มีพี่เลี้ยงกำกับในการปฏิบัติงาน ผู้บริหารให้คำปรึกษา มีการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจ 2) ผู้บังคับบัญชาเป็นแบบอย่างที่ดี ยึดถือประโยชน์ของส่วนรวม 3) กำหนดเป้าหมายและวิสัยทัศน์ขององค์กร มีการสะท้อนผล และ 4) คณะครูและผู้บริหารมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน มีคำสั่งแต่งตั้งการทำงาน พิจารณาความดีความชอบอย่างเท่าเทียม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์โดย วารสารศึกษิตาลัย วัดศรีสุมังคล์
เลขที่ 962 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทร. 086-8894578
E-mail : Sjmcunk@gmail.com
Website :https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ
References
เอกสารอ้างอิง
จันทนา เสียงเจริญ. (2554). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน). ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ธันวนี ประกอบของ. (2560). คุณภาพชีวิตในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กร และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของบุคลากรโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่. ใน การศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.
นันทิกา มากมาย. (2560). แผนปฏิบัติการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ปรีณาพรรณ ทัพมาลี. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์การของครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนในเครือสารสาสน์. ใน วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการศึกษา. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พระมหาประยูร ตระการ. (2564). กระบวนการเสริมสร้างความจงรักภักดีของบุคลากรในสถานศึกษา. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(3), 709-718.
พิมศิริ ประวิงวงศ์. (2565). ความจงรักภักดีต่อองค์กรของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร, 5(1), 63-75.
ภูมิภควัธจ์ ภูมพงศ์คชศร. (2563). การบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(3), 591-600.
วสุ จ้อยสองสี. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของบุคลากร กรณีศึกษาสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต (นโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ). มหาวิทยาลัยมหิดล.
สิริพร มูลเมือง. (2563). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร สำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 3(1), 29-40.
สุวิมล ว่องวานิช. (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุทุมพร รุ่งเรือง. (2555). ความพึงพอใจในการทำงาน ทีมีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทอุตสาหกรรมแปรรูปโครงสร้างเหล็ก. ใน นิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Joanna Rosak-Szyrocka. (2020). Measuring Teachers’ Readiness to Adopt Organizational Loyalty Philosophy. Proceedings of the 36th International Business Information Management Association (IBIMA), 5(7), 1347-1359.
Khan, M. R., Jan, F., Khan, I., Khan, S. & Saif, N. (2015). The Teachers’ Loyalty and its Attributes: A Comprehensive Review. International Journal of African and Asian Studies, 9, 4-8.