แนวทางการส่งเสริมองค์กรแห่งความสุขในการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ของความสุขของบุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย 2) เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างเสริมองค์กรแห่งความสุขของบุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและบุคลากร จำนวน 155 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การศึกษาแนวทางการสร้างความสุขของบุคลากร ใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน
ผลการวิจัยพบว่า สภาพที่เป็นจริงของความสุขของบุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยของระดับสภาพที่เป็นจริงอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.52) ส่วนค่าเฉลี่ยระดับสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57) เมื่อพิจารณาผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นของความสุขบุคลากร ภาพรวมพบว่า ค่า อยู่ระหว่าง 0.741 - 0.859 ด้านความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นพบว่ามีค่า สูงที่สุดและมีความสำคัญเป็นลำดับที่ 1 คือ ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพและทางสังคม รองลงมาคือ ด้านผู้นำและบทบาทของผู้นำหรือผู้บริหาร ด้านลักษณะของงานในองค์กร ด้านความสุขของสมาชิกในองค์กร และด้านความผูกพันต่อองค์กรตามลำดับ แนวทางการสร้างเสริมความสุขของบุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย พบว่า ผู้บริหารองค์กรต้องมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม ควรเห็นความสำคัญของสภาพแวดล้อมในองค์กรให้เอื้อและเหมาะสมต่อการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากร ส่งเสริมการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น บุคลากรในองค์กรควรมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงาน และองค์กรมีการสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์โดย วารสารศึกษิตาลัย วัดศรีสุมังคล์
เลขที่ 962 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทร. 086-8894578
E-mail : Sjmcunk@gmail.com
Website :https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ
References
เอกสารอ้างอิง
กมลทิพย์ ใจเที่ยง. (2562). การบริหารองค์กรแห่งความสุขในโรงเรียนประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 18(2), 25-44.
กฤตัชญ์ สุริยนต์ ภารดี อนันต์นาวีม และเจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานของครูกับประสิทธิผลของโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย, 10(2), 1-17.
ก้านทอง บุหร่า. (2559). องค์กรแห่งความสุข: แนวคิด กระบวนการ และบทบาทของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 28(3), 169-176.
เด่นชัย อาทิตย์เจริญ. (2558). ทักษะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งความสุขในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. พิฆเนศวรสาร, 58(10), 87-102.
ทิพวัลย์ รามรง. (2561). แนวทางการเสริมสร้างองค์กรแห่งความสุขในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 44(1), 26-45.
อธิคุณ สินธนาปัญญาและคณะ. (2557). การบริหารความสขในสถานศึกษา Happiness Management in School. วารสารสุทธิปริทัศน์, 36(2), 18-26.
Hackman & Oldham. (1980). The Impact of Work Characteristics on Bank Employees' Motivation in Hanoi: Application of Job Characteristics’ Theory of Hackman and Oldham. European Journal of Business and Management, 11(27), 25-28.
Manion, J. (2003). Joy at Work: Creating a Positive Workplace. Journal of Nursing Administration, 33 (12), 652-66.