แนวทางการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย 2) ศึกษาแนวทางการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 285 คน โดยระยะที่ 1 เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม 0.978 ระยะที่ 2 เป็นการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยได้การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เพื่อหาแนวทางการบริหารการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอโดยวิธีการพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า สภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ของพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย พบว่า ค่าเฉลี่ยของระดับสภาพที่เป็นจริง อยู่ในระดับมาก ( = 3.76) ส่วนค่าเฉลี่ยระดับสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.57) จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ระดับสภาพที่เป็นจริงมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าระดับสภาพที่พึงประสงค์เป็นรายด้านทุกด้าน ความต้องการจำเป็นการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน องค์ประกอบที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด ลำดับที่ 1 คือ ด้านการดำเนินการคุณภาพการศึกษา (PNIModified = 0.221) ลำดับที่ 2 คือ ด้านการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา (PNIModified = 0.219) ลำดับที่ 3 คือ ด้านการกำกับติดตามคุณภาพการศึกษา (PNIModified = 0.203) และลำดับที่ 4 คือ ด้านการปรับปรุงคุณภาพการศึกษา (PNIModified = 0.199)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์โดย วารสารศึกษิตาลัย วัดศรีสุมังคล์
เลขที่ 962 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทร. 086-8894578
E-mail : Sjmcunk@gmail.com
Website :https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ
References
เอกสารอ้างอิง
กัลยาณี รัตนวราหะ. (2556). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของมหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นงคราญ ศรีบุรมย์. (2562). สภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดมุกดาหาร. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ภัควิภา ลูกเงาะ. (2562). สภาพและแนวทางการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ลักขณา สังฆธรรม. (2560). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนเทศบาล 1 บ้านหนองชากแง้ว สู่การรองรับการประกันคุณภาพภายนอก รอบสี่ สังกัดเทศบาลตำบลห้วยใหญ่. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิรินทร ดงเรืองศรี. (2561). การดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนนิคมพัฒนาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
สราวุฒิ คณะขาม. (2560). การดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดประทุมธานี.
สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาองค์การมหาชน. (2547). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แกไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาองค์การมหาชน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). ระบบการกำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.