แนวทางการตลาดดิจิทัลเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าของชุมชนในพื้นที่ทะเลบัวแดง จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการตลาดดิจิทัลเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าของชุมชน และเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าของชุมชน 2) เสนอรูปแบบสื่อดิจิทัลเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าของชุมชน 3) ประเมินผลความพึงพอใจการใช้รูปแบบสื่อดิจิทัลเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าของชุมชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม โดยใช้สถิติการวิจัยแบบการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประชากรกลุ่มเป้าหมายแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวในพื้นที่ทะเลบัวแดง หรือผู้สนใจซื้อสินค้า และกลุ่มผู้ประกอบการสินค้าชุมชนในพื้นที่ทะเลบัวแดง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 400 คน
ผลการศึกษาพบว่า 1) แนวทางการตลาดดิจิทัลเพื่อการประชาสัมพันธ์และเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าของชุมชนได้รับความสนใจ โดยรวมในระดับมาก จำนวน 4 ประเภท ได้แก่ การตลาดเชิงเนื้อหา การครองหน้าแรก เครือข่ายสังคมออนไลน์ และเว็บไซต์ ส่วนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์มีความสนใจ โดยรวมในระดับเฉย ๆ สำหรับการตลาดเชิงเนื้อหา ผู้ตอบแบบสอบถามมีความสนใจในระดับมาก ค่าเฉลี่ยสูงสุดที่ 3.99 2) รูปแบบสื่อดิจิทัลเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าของชุมชน คือ เว็บไซต์ โดยใช้การตลาดเชิงเนื้อหาเป็นกลยุทธ์การทำการตลาด สื่อการตลาดดิจิทัลนี้ช่วยให้ลูกค้าได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ช่วยกระตุ้นให้เกิดความต้องการซื้อสินค้า ช่วยให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนเป็นที่รู้จัก และลูกค้าหันมาสนใจสินค้ามากขึ้น ขายสินค้าได้มากขึ้น ผู้ประกอบการสินค้ามีรายได้เพิ่มขึ้น 3) ความพึงพอใจการใช้รูปแบบสื่อดิจิทัลเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าของชุมชน โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ประกอบด้วยด้านเนื้อหาการนำเสนอ ด้านการออกแบบ ด้านประชาสัมพันธ์ และด้านช่องทางจัดจำหน่าย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์โดย วารสารศึกษิตาลัย วัดศรีสุมังคล์
เลขที่ 962 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทร. 086-8894578
E-mail : Sjmcunk@gmail.com
Website :https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ
References
เอกสารอ้างอิง
กนกวรรณ นาสวน และคณะ. (2564). ระบบร้านขายเสื้อผ้าเด็กออนไลน์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ. ครั้งที่ 8 ประจำปี 2564 วิทยาลัยนครราชสีมา, 790-800.
กรัณย์พัฒน์ อิ่มประเสริฐ. (2565). การใช้เครื่องมือการตลาดดิจิทัลเพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าง่ายขึ้น. วารสารบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 1(1), 1-15.
พรพรรณ ตาลประเสริฐ. (2559). อิทธิพลของการตลาดแบบดิจิทัลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคกลุ่มธุรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ไพสิทธิ์ สุขรมย์. (28 มีนาคม 2566). แหล่งท่องเที่ยวทะเลบัวแดง. (อาภาภรณ์ โพธิ์กระจ่าง, ผู้สัมภาษณ์)
วรพล จันทมา และคณะ. (2565). การพัฒนาเว็บไซต์สำหรับสนับสนุนการซื้อขายสินค้าออนไลน์: กรณีศึกษา ร้านวรพลเฟอร์นิเจอร์. การประชุมวิชาการและแสดงนิทรรศการระดับชาติพัฒนา วิศวกรรมและนวัตกรรมเทคโนโลยีสู่การเป็นผู้นำพอเพียงเพื่อความยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต, 4(1), 416-422.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2549). การวิจัยการตลาด (ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพมหานคร : บริษัท ธรรมสาร จำกัด.
ศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2565). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2565. เรียกใช้เมื่อ 28 ธันวาคม 2565 จาก https://shorturl.asia/OEV8H.
สุพินดา สุวรรณศรี. (2558). การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อส่งเสริมการตลาดสำหรับสินค้า OTOP จังหวัดสระบุรี. คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
โสรชัย นันทวัชรวิบูลย์. (2545). Be Graphic สู่เส้นทางกราฟิกดีไซน์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : บริษัท พิมพ์ดี จํากัด.
อาภาภรณ์ วัธนกุล. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภคผ่านทางเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยอดนิยมของประเทศไทย. ใน วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต สาขาการตลาด. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Ajlalita santiworarak. (2564). สถิติการใช้งาน Digital ประเทศไทย ปี 2021. เรียกใช้เมื่อ 28 ธันวาคม 2565 จาก https://ajlalita.com/thailanddigital2021/.