ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการพิจารณาอนุญาตให้ควบรวมกิจการในธุรกิจโทรคมนาคม

Main Article Content

กรกฎ ผมงาม
อัจฉราพร สีหวัฒนะ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


         บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคม การควบรวมกิจการ หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาอนุญาตให้ควบรวมกิจการโทรคมนาคม อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานเกี่ยวกับการพิจารณาอนุญาตให้ควบรวมกิจการโทรคมนาคม ทั้งของประเทศไทยและของต่างประเทศ และวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายที่ใช้ในการพิจารณาอนุญาตให้ควบรวมกิจการในธุรกิจโทรคมนาคมของประเทศไทย โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ตำรา กฎหมาย หนังสือ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง


         ผลการศึกษาพบว่า หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาอนุญาตให้ควบรวมกิจการโทรคมนาคม ได้กำหนดในประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรการป้องกันมิให้มีการกระทำอันผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับการที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พิจารณาอนุญาตให้ควบรวมกิจการโทรคมนาคมระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) จะพบปัญหาในการตีความของคำว่าการถือครองธุรกิจในบริการประเภทเดียวกัน เนื่องจากการรวมธุรกิจระหว่างบริษัทดังกล่าว เป็นการรวมธุรกิจตามคำนิยามในข้อ 3(1) ของประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคมแล้ว แต่ กสทช. มีมติเสียงข้างมากรับทราบรายงานการรวมธุรกิจเท่านั้น มติดังกล่าวจึงมิใช่การอนุญาตหรือไม่อนุญาต และเมื่อศึกษาอำนาจหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาอนุญาตให้ควบรวมกิจการโทรคมนาคมจะพบว่า กสทช. เป็นหน่วยงานเดียวที่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาอนุญาตให้ควบรวมกิจการโทรคมนาคม จึงควรที่จะมีระบบคานอำนาจระหว่างหน่วยงานในการพิจารณาอนุญาตให้ควบรวมกิจการโทรคมนาคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2565). รายงานผลการปฏิบัติงาน กสทช. ประจำปี 2565. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน กสทช.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2555). M&A Mergers and Acquisitions ทางเลือกสู่ความสำเร็จธุรกิจไทย. เรียกใช้เมื่อ 8 กันยายน 2566 จาก https://shorturl.asia/vMb1y.

ธันยพร เปาทอง. (2559). การควบรวมกิจการโทรทัศน์เข้าข่ายการโอนสิทธิเฉพาะตัวของผู้รับใบอนุญาตจริงหรือ. วารสาร กสทช. ประจำปี 2559, 1(1), 255-280.

พีรพงศ์ จงไพศาลสกุล. (2563). การศึกษาเปรียบเทียบระบบกำกับดูแลการรวมธุรกิจตามกฎหมายการแข่งขันทางการค้า. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชกิจจานุเบกษา. (2549). ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาดหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ข้อ 8. เล่ม 123 ตอนพิเศษ 99 ง (25 กันยายน 2549).

__________. (2561). ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรการกำกับดูแลการรวมธุรกิจในกิจการโทรคมนาคม ข้อ 5, ข้อ 8, ข้อ 9. เลม 135 ตอนพิเศษ 200 ง (20 สิงหาคม 2561).

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 4. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). การควบรวมและการถือหุ้นไขว้ในกิจการโทรคมนาคม. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2562). ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

_______________. (2565). รายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบกรณีการควบรวมกิจการโทรคมนาคม ระหว่าง True กับ DTAC และการค้าปลีก - ค้าส่ง. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2557). ความหมายและประเภทธุรกิจของธุรกิจโทรคมนาคม. เรียกใช้เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2566 จาก https://www.sme.go.th.

COUNCIL REGULATION (EC). (No.139/2004). 20 January 2004 on the control of concentrations between undertakings (the EC Merger Regulation).