การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางนิเวศวิทยาชุมชนลำน้ำห้วยหลวงในจังหวัดหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ระบบนิเวศวิทยาชุมชนลำน้ำห้วยหลวงในจังหวัดหนองคาย 2. เพื่อศึกษาการพัฒนาแหล่งเรียนรู้นิเวศวิทยาชุมชนลำน้ำห้วยหลวงในจังหวัดหนองคาย 3. เพื่อศึกษาการถ่ายทอดแหล่งเรียนรู้นิเวศวิทยาชุมชนลำน้ำห้วยหลวงในจังหวัดหนองคาย 4. เพื่อศึกษาการสร้างเครือข่ายแหล่งเรียนรู้นิเวศวิทยาชุมชนลำน้ำห้วยหลวงในจังหวัดหนองคาย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีดำเนินการวิจัยโดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเชิงลึก และเก็บข้อมูลภาคสนาม จากกลุ่มประชากร จำนวน 30 รูป/คน
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระบบนิเวศวิทยาชุมในชุมชนที่อยู่ในอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ทั้ง 4 ชุมชนนั้นมีการดำเนินชีวิตมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการเกษตร การประมง การเลี้ยงสัตว์ ชุมชนจึงให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม มีกิจกรรมประเพณีที่เกี่ยวกับลำน้ำ 2) การพัฒนาแหล่งชุมชนได้ร่วมกันดำเนินการผ่านวัฒนธรรมของชุมชนและความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ผู้ที่ถือครองที่ดินที่ติดกับลำน้ำ ต้องเรียนรู้ระบบนิเวศวิทยา และวัดเป็นสถานที่ประชาสัมพันธ์หลักของชุมชนทั้งภายนอกและภายใน 3) รูปแบบการถ่ายทอดความรู้ มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ร่วมแสดงความคิดเห็น วางแผนในการจัดการแหล่งน้ำ มีการอนุรักษ์ลำน้ำห้วยหลวง ซึ่งเป็นการอนุรักษ์แหล่งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ 4) ส่งเสริมเครือข่ายระดับบุคคล มีการสร้างลำรางสาธารณะในพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ของประชาชน เพื่อใช้ในการผันน้ำจากลำน้ำห้วยหลวง มีการจัดกิจกรรมอนุรักษ์ลำน้ำแก่เยาวชนจากโรงเรียนต่าง ๆ เพื่อให้เห็นความสำคัญของลำน้ำห้วยหลวงในการดำเนินชีวิต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์โดย วารสารศึกษิตาลัย วัดศรีสุมังคล์
เลขที่ 962 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทร. 086-8894578
E-mail : Sjmcunk@gmail.com
Website :https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ
References
เอกสารอ้างอิง
เกษม จันทร์แก้ว. (2554). วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชนกพร ไผทสิทธิกุล. (2554). การอนุรักษ์ชุมชนและสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม ริมแม่น้ำกก จังหวัดเชียงราย. ใน รายงานวิจัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
นเรนทร์ แก้วใหญ่. (2558). ศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน : การพัฒนาที่ยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษา. วารสารวิชาการเชาธ์อิสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 2(2), 108 – 123.
ปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์ และชัยณรงค์ เครือนวน. (2558). เศรษฐกิจสีเขียวในชุมชนท้องถิ่นไทย : ศึกษาชุมชนท้องถิ่นแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 3(2) ,85 – 102.
ผู้จัดการออนไลน์. (2562). สุดยอด ห้วยหลวงโมเดล กลยุทธ์ตรึงน้ำไว้ในแผ่นดินอีสาน. เรียกใช้เมื่อ 2 กันยายน 2566 จาก https://mgronline.com/business/detail/9620000065686.
พระสมุห์จวน ฐิตธมฺโม (กว้างปิน). (2550). การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการจัดการลุ่มน้ำของหน่วยจัดการต้นน้ำแม่ฮาว อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. ใน ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
มนัส สุวรรณ. (2549). การจัดการสิ่งแวดล้อม : หลักการและแนวคิด. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
ศนิ ลิ้มทองสกุล. (2549). ภูมิทัศน์พื้นถิ่นของหมู่บ้านชนบทในชุมชนมุสลิมในประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง, 4(2), 141-154.
สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. (2563). เรื่องโครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่าง จังหวัดหนองคาย. เรียกใช้เมื่อ 15 ธันวาคม 2566 จาก https://shorturl.asia/GVpvE.
สุธรรมา จันทรา. (2556). การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการจัดการทรัพยากรน้ำจากโครงการชลประทานแม่น้ำชี กรณีศึกษา โครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านกุดแข้ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 24(1), 72 – 83.
สุรศักดิ์ นุ่มมีศรี, ผศ.ดร.อโนดาษ์ รัชเวทย์ และวราคณา เขาดี. (2554). การจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.