การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยโดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐานสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

มาเต็ม พิศศรี
เยาวเรศ ใจเย็น
วิวัฒน์ เพชรศรี

บทคัดย่อ

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านระหว่างก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเนินตาล จังหวัดตราด 42 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยโดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ชื่อกิจกรรม คำชี้แจง สื่อ การดำเนินกิจกรรม และการประเมินผล 2) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้การจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน เรื่องการอ่านภาษาไทย จำนวน 10 แผน รวม 20 ชั่วโมง  3) แบบวัดทักษะการอ่านภาษาไทย ชนิดปรนัย 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 4) แบบประเมินความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ จำนวน 16 ข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติพื้นฐาน 1) ค่าเฉลี่ย 2) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ 1) การคำนวณประสิทธิภาพของกระบวนการและผลลัพธ์ 2) ค่าความตรงเชิงเนื้อหา 3) ค่าความยากง่ายของแบบวัดทักษะรายข้อ 4) ค่าความเชื่อมั่น


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยโดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.09/85.96 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 2) นักเรียนที่มีทักษะการอ่านภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน 3) นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.98 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.15

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กฤตยากาญจน์ อินทร์พิทักษ์. (2562). การพัฒนาความสามารถการอ่านและการเขียนคำภาษาไทย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน. ในวิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2545). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาสื่อการสอนระดับประถมศึกษาหน่วยที่ 8 - 15. (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ญาณี ไชยวงศา. (2556). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานและแนวคิดการช่วยเหลือเด็กในการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทยสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. ใน ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2542). นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : เอสอาพริ้นติ้ง.

ปิยฉัตร ศรีสุราช. (2561). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนบ้านเขาสมิง จังหวัดตราด. ใน วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

มณฑา วิริยางกูร และคณะ. (2565). การพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกทักษะภาษาไทยเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลท่าโขลง 1. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 22(3), 299 - 300.

ศิริพันธ์ เวชเตง. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน และการเขียนสะกดคำภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยสำหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). รายงานผลการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ ประจำปี 2563. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก. กรุงเทพมหานคร : บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ TK Park. (2561). ผลสำรวจการอ่านของประชากรไทย พุทธศักราช 2561. เรียกใช้เมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2566. จาก https://www.tkpaark.or.th/thai/articles-detail/407.