การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือวิชาภาษาอังกฤษ

Main Article Content

จิตติศักดิ์ แดนดงเมือง
อธิราชย์ นันขันตี
พิจิตรา ธงพานิช

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือวิชาภาษาอังกฤษ                  ให้ตามเกณฑ์เฉลี่ยร้อยละ 80 2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือวิชาภาษาอังกฤษก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยขั้นต้นและเป็นการวิจัยเชิงทดลอง ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 36 คน สถิติที่ใช้ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t - test for Dependent Samples


           ผลการศึกษาพบว่า 1) ความสามารถทักษะการอ่านและการเขียนโดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียน มีคะแนนทดสอบก่อนเรียน ค่าเฉลี่ย 12.22 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 61.11 และมีความสามารถการทำแบบทดสอบหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 16.97 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 84.86 ของกลุ่มตัวอย่าง สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือร้อยละ 80 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) การเปรียบเทียบความสามารถทักษะการอ่านและการเขียน โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือวิชาภาษาอังกฤษ ก่อนและหลังเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนมีคะแนนค่าเฉลี่ย 12.22 คะแนน อยู่ในระดับพอใช้ และมีคะแนนหลังเรียนค่าเฉลี่ย 16.97 คะแนน อยู่ในระดับดี 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการวิชาภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.77

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กาญจนาพร รุจิโฉม. (2561). การสื่อสารภาษาอังกฤษของคนไทยกับการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21. วารสารศิลปการจัดการม, 2(3), 199-210.

จิตติน เพลงสันเทียะ. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะการพูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ใน การค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จุราภรณ์ ปฐมวงษ์. (2565). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมทักษะการพูด สนทนาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. Journal of Modern Learning Development, 7(4), 143-159.

ธนานุช ศรีรังษ์ สุรกานต์ จังหาร และทิพาพร สุจารี. (2565). การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค Co-op Co-op ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 16(2), 54-66.

บุบผา อยู่ทรัพย์. (2555). การพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาผ่านการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและทักษะการเรียน. วารสารวิจัย มสด, 8(2), 189-204.

ปาริฉัตร พินิจวิญญูภาพ และกชกร ธิปัตดี. (2563). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษด้วยการเขียนแบบเน้นกระบวนการสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 14(2), 105-113.

วรพงษ์ แสงประเสริฐ, รุ่งทิวา แย้มรุ่ง และลัดดาวัลย์ เกษมเนตร. (2560). การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดภาษาอังกฤษอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1), 118-119.