นิราศลอนดอน: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ทัศนคติเชิงบวกที่คนไทยมีต่อภาพลักษณ์ของประชาชนชาวอังกฤษ

Main Article Content

พระมหาจำนงค์ สิริวณฺโณ (ผมไผ)
พระมหาอําพล ธนปญฺโญ (ชัยสารี)
พระมหาสมเด็จ มหาสมิทฺธิ (อัตสาร)
พระมหาเกริกเกียรติ นิรุตฺติเมธี (ไพศาลเจริญลาภ)
มุจจรินทร์ ทัศดรกุลพัฒน์
วัฒนา มุลเมืองแสน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


           บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมา เนื้อหา สาระของนิราศลอนดอน      2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์นิราศลอนดอนที่เกี่ยวข้องกับสภาพบ้านเมืองและประชาชนในประเทศอังกฤษ    3) เพื่อวิเคราะห์ทัศนคติเชิงบวกของคนไทย ที่มีต่อประเทศอังกฤษผ่านนิราศลอนดอน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวิธีดำเนินการวิจัยโดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความ และเว็บไซต์ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับนิราศลอนดอน


          ผลการวิจัย พบว่า  “นิราศลอนดอน” มีประเด็นสำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของไทยภายหลังจากการที่ประเทศไทยได้ก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ และได้แต่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศอังกฤษในสมัยรัชกาลที่ 4 “นิราศลอนดอน” มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับประชาชนชาวอังกฤษ ในด้านการยกย่องชื่นชมประชาชนชาวอังกฤษว่าเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม มีความประพฤติดี จนได้เป็นที่มาของคำว่า ผู้ดีอังกฤษ การยกย่องชื่นชมบ้านเมืองของอังกฤษว่ามีความเจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะเมืองที่ปรากฏในบทกวีคือ ลอนดอน ลิเลอร์พูล แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และพอร์ทมัธ การยกย่องชื่นชมสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในประเทศอังกฤษว่ามีสวยงาม ยิ่งใหญ่ เช่น พระราชวังบักกิงแฮม และพิพิธภัณฑ์อังกฤษ หรือบริติช มิวเซียม เป็นต้น การยกย่องชื่นชมภาษาและวัฒนธรรมอังกฤษ ว่ามีการใช้ภาษาและกิริยาวาจาที่สุภาพอ่อนโยน ประเพณีการต้อนรับทูตต่างเมืองมีความคล้ายคลึงกันกับไทย คณะผู้ต้อนรับทูตไทยให้เกียรติต่อคณะทูตเป็นอย่างดี กวีมีทัศนคติเชิงบวกต่อคนอังกฤษ โดยนำเสนอผ่านทางบทกวีที่บรรยายถึงความรู้สึกนึกคิดในทางที่ดีต่อคนอังกฤษ ด้วยการบรรยายที่เห็นภาพลักษณ์อย่างชัดเจน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

ไกรฤกษ์ นานา. (2558). จากสนธิสัญญา “นานกิง” สู่ “เบาริ่ง” วิเทโศบาย สมัย ร.4 สยามรู้ทันอังกฤษ. เรียกใช้เมื่อ 18 พฤษภาคม 2566 จาก https://shorturl.asia/9XGMZ.

โชติกา นุ่นชู. (2567). หม่อมราโชทัย ล่ามคณะทูตเดินทางไปอังกฤษเมื่อร้อยปีก่อน กับผลงาน “นิราศลอนดอน. เรียกใช้เมื่อ 30 มิถุนายน 2567 จาก https://shorturl.asia/7XxvF.

ไทยโพสต์. (2561). ศึกระหว่างพระเพทราชา-คอนสแตนติน ฟอลคอน. เรียกใช้เมื่อ 22 เมษายน 2566 จาก https://www.thaipost.net/main/detail/6877.

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2547). “เมื่อตระกูล “บุนนาค” เปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา”. ใน พุทธศาสตรบัณฑิตรุ่นกึ่งศตวรรษ (รุ่นที่ 50) คณะพุทธศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ Thai Paper.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2543). สารคดี. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วัชรญาณ. (2565). อธิบายตำนานเรื่องนิราศลอนดอน. เรียกใช้เมื่อ 15 สิงหาคม 2566 จาก https://vajirayana.org/.

วิสุทธิจิตรา วานิชสมบัติ. (2552). เฉลิมพระเกียรติจอมกษัตราพระมหาเจษฎาราชเจ้า. เรียกใช้เมื่อ 16 สิงหาคม 2566 จาก https://shorturl.asia/SVQ6U.

ศิริพร สุเมธารัตน์. (2553). ประวัติศาสตร์ไทยสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ โอเอส พริ้นติ้ง เฮาส์.

สุมาลี วีระวงศ์. (2461). จดหมายเหตุแลนิราศลอนดอนของหม่อมราโชทัย. กรุงเทพมหานคร: โบราณคดีสโมสร.

หม่อมราโชทัย. (2556). นิราศลอนดอน จดหมายเหตุราชทูตไทยไปประเทศอังกฤษในรัชกาลที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศยาม.

อาวุธ ธีระเอก. (2560). ภาษาเจ้า ภาษานาย การเมืองเบื้องหลังการศึกษาภาษาอังกฤษ สมัยรัชกาลที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน.

Nattanam Waiyahong. (2562). ผู้ดีอังกฤษมีจริงไหม...เจาะลึกทุกประเด็นเกี่ยวกับคำฮิตติดปากเมื่อพูดถึงชาวอังกฤษ. เรียกใช้เมื่อ 15 สิงหาคม 2566 จาก https://shorturl.asia/TAng5.