พระพุทธศาสนากับการสื่อสารทางการเมือง การสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของประชาชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การสื่อสารทางการเมือง เป็นการสื่อสารที่มีรากฐานมาจากวาทกรรมทางการเมืองในยุคกรีกโบราณ โดยเน้นความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารที่มีเป้าหมายที่สอดคล้องกัน การสื่อสารที่ประสบผลสำเร็จส่งผลต่อการดำเนินชีวิต สังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการศึกษา โดยทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงในระดับต่าง ๆ ของสังคม กระบวนการสื่อสารประกอบด้วย 1) ด้านผู้ส่งสาร ได้แก่ ผู้ส่งสารที่ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องทางการเมืองและหลีกเลี่ยงความขัดแย้งให้แก้ผู้รับสารได้เข้าใจยิ่งขึ้น 2) ด้านสาร ได้แก่ เนื้อหาในการสื่อสารต้องมีความชัดเจนและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะชน 3) ด้านช่องสาร ได้แก่ ช่องทางในการสื่อสารที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัย เพื่อความรวดเร็วและชัดเจนในการรับสาร 4) ด้านผู้รับสาร ได้แก่ ผู้รับสารต้องมีทักษะในการสื่อสารและทัศนคติต่อสารที่ดี นอกจากนี้ พระสงฆ์มีบทบาทสำคัญในการสื่อสารทางการเมืองเป็นอย่างมาก โดยทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางจิตวิญญาณและเผยแพร่หลักธรรมคำสอน เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจและการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข การใช้สื่อทางการเมืองในรูปแบบของออนไลน์ โดยพระสงฆ์เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความรู้ ความเข้าใจและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน การเผยแพร่หลักธรรมคำสอนและการสนทนาธรรมผ่านช่องทางออนไลน์ ไม่เพียงทำให้การสื่อสารทางการเมืองได้อย่างรวดเร็วและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น แต่ยังเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างพระสงฆ์กับประชาชนและช่วยสร้างสังคมให้มีความรู้ ความเข้าใจ และสร้างความร่วมมือในการเผชิญปัญหาต่าง ๆ อย่างมีสติและเหตุผลให้มากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์โดย วารสารศึกษิตาลัย วัดศรีสุมังคล์
เลขที่ 962 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทร. 086-8894578
E-mail : Sjmcunk@gmail.com
Website :https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ
References
เอกสารอ้างอิง
กาญจนา แก้วเทพ. (2541). ทฤษฏีการสื่อสารมวลชน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
กิตติทัศน์ ผกาทอง. (2555). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของสถาบันสงฆ์ในสังคมไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 1(2), 1-22.
ชนินธร ม้าทอง. (2560). แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสารทางการเมือง (Political Communication Concept). วารสารคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยลัยราชกัฎมหาสารคาม, 2(1), 169-171.
ชวนะ ภวกานันท์. (2548). การศึกษารัฐศาสตร์แนวทางการสื่อสาร. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและวิธีการศึกษาทางรัฐศาสตร์. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์. (2523). หลักพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทายลัยรามคำแหง.
พระครูโกศลธรรมานุสิฐ และคณะ. (2562). พุทธศาสนากับการพัฒนาสังคมไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 12(4), 1524-1539.
พระครูธรรมธรบุญเที่ยง พุทฺธสาวโก (ลักษณ์พลวงค์) และคณะ. (2565). แนวทางการสื่อสารทางการเมืองเพื่อความสมานฉันท์ในสังคมไทย. วารสารวิจยวิชาการ, 5(1), 1-10.
พระครูสมุห์ชินวรวัตร ถิรภทฺโท. (2565). บทบาทพระสงฆ์: ท่ามกลางวิกฤตของสังคมไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(6), A151-A165.
พระครูอาทรกิจจาภิรักษ์ และคณะ. (2562). บทบาทของพระสงฆ์กับงานสาธารณสงเคราะห์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(10), 4711-4719.
พระชาณรงค์ ประเสริฐศรี. (2566). ภาวะผู้นำ: การสื่อสารทางการเมืองตามหลักพุทธธรรม. วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 5(2), 30-40.
พระปลัดเกษฎา ผาทองและคณะ. (2561). บทบาทของพระสงฆ์กับการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในพื้นที่ประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(6), 1662-1676.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า. (2563). การเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(7), 1-11.
อาทิตย์ ชูชัย และคณะ. (2565). พุทธวิธี: การสื่อสารทางการเมือง. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 8(2), 480-492.
อุบล วุฒิพรโสภณ. (2561). พระสงฆ์กับการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีในยุค 4.0. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 1(1), 129-138.
Anura Goonasekara. Asia and the Information Revolution. Asian Journal of Communication, Vol. 7 No. 2 (1997), p. 12.
Brian McNair. (1995). An Introduction to Political Communication. London: Routledge.