ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นบ้านหนองเขื่อนช้าง: กรณีศึกษาพัฒนาการชุมชนและกลุ่มสตรีทอผ้า ตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชุมชนบ้านหนองเขื่อนช้าง ตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ตลอดจนพัฒนาการทางเศรษฐกิจของกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านหนองเขื่อนช้างในมิติทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการผลิตวรรณกรรมทางประวัติศาสตร์นิพนธ์ โดยใช้ระเบียบวิธีการทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ผ่านความทรงจำร่วม ของบุคคลสำคัญภายในชุมชน และบุคคลร่วมสมัย ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนบ้านหนองเขื่อนช้างมีพัฒนาการการตั้งถิ่นฐานของผู้คนมาตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 24 และเริ่มก่อตัวขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 โดยภูมินามของชุมชนแห่งนี้ตั้งขึ้นตามชุดความรู้ตำนานโขลงช้างลงมาเล่นน้ำ โดยแบ่งมิติการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภายใต้บริบทของพัฒนาการทางเศรษฐกิจชุมชนได้ 4 มิติเวลาด้วยกัน คือ มิติเวลาที่ 1 ยุคการก่อตัวเป็นชุมชนเกษตรกรรม ซึ่งเป็นระยะที่มีการผลิตใช้ภายในครัวเรือน หนองเขื่อนช้างเป็นเพียงชุมชนเล็ก ๆ มิติเวลาที่ 2 ยุคก่อตัวเป็นชุมชนหัตถกรรม ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และการขยายตัวทางการศึกษาในจังหวัดมหาสารคาม ทำให้ภาครัฐและภาคการศึกษาเข้าไปมีส่วนพัฒนาชุมชนในระยะเริ่มวางรากฐาน มิติเวลาที่ 3 ยุคได้รับการพัฒนาจากภาครัฐ ห้วงเวลานี้รัฐได้เข้าไปส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนารูปแบบการทอ ลวดลาย สีสัน กรรมวิธีการผลิต ตลอดจนวางแผนการตลาดให้กับชุมชนอย่างเด่นชัด และสุดท้ายมิติเวลาที่ 4 ยุคแปรสภาพจากชุมชนหัตถกรรมเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางภูมิปัญญาของจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนผ่านจากความเป็น “สังคมชนบท” ไปเป็น “สังคมเมือง” จนถึงปัจจุบัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์โดย วารสารศึกษิตาลัย วัดศรีสุมังคล์
เลขที่ 962 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทร. 086-8894578
E-mail : Sjmcunk@gmail.com
Website :https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ
References
เอกสารอ้างอิง
ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ. (2554). แนวคิดและแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: สำนักพิมพ์อินทนิล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธีรชัย บุญมาธรรม. (2547). พัฒนาการของเมืองมหาสารคาม พ.ศ. 2408-2455. มหาสารคาม: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2525). ประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
บุญชม ศรีสะอาด, ญาณภัทร สีหะมงคล, ฤทธิ์ติยา ธรรมสวาสดิ์, พิริยา กุลสิงหรา, พิทยาภรณ์ หรสิทธิ์, และ รุ่งเรือง สุพรรณี. (2563). การศึกษาศักยภาพของชุมชนและกลุ่มทอผ้าเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษาบ้านหนองเขื่อนช้าง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัย ราชภัฏมหาสารคาม, 14(1), 153-164.
พรรณิกา ฉายากุล. (2555). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจชุมชน: การเปลี่ยนแปลงการประกอบอาชีพของชาวอีสานช่วงปี พ.ศ. 2540-2550. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ฉบับพิเศษ, 59-88.
พรลภัส จำปีหอม. (17 สิงหาคม 2567). สภาพปัจจุบันของกลุ่มตรีทอผ้าบ้านหนองเขื่อนช้าง. (พีรภัทร ฉัตรพิบูลย์ภูเวียง ห้าวเหิม, ผู้สัมภาษณ์)
ยุงยุทธ ชูแว่น. (2551). ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: ซีโนพับลิชชิ่ง.
สุพจน์ ศรีบุญสม. (2534). ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการประกอบอาชีพทอผ้าบ้านหนองเขื่อนช้าง ตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. ใน วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา เน้นสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
สุวิทย์ ธีรศาศวัต และดารารัตน์ เมตตาริกานนท์. (2538). ประวัติศาสตร์อีสานหลังสงครามโลกครั้งที่สองถึงปัจจุบัน. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.
หนูดม จำปีหอม. (7 ธันวาคม 2567). พัฒนาการทางเศรษฐกิจชุมชนบ้านหนองเขื่อนช้าง. (พีรภัทร ห้าวเหิม, ผู้สัมภาษณ์).
อำนวย ภูวนา. (2540). กระบวนการบริหารผลิตหัตถกรรมผ้าทอ: ศึกษาเฉพาะกรณีบ้านหนองเขื่อนช้าง ตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อุไร ขานนาม. (7 ธันวาคม 2567). พัฒนาการทางเศรษฐกิจชุมชนบ้านหนองเขื่อนช้าง. (พีรภัทร ห้าวเหิม, ผู้สัมภาษณ์).
Dunn, A. W. (1908). The Civic Value of Local History. The Indiana Quarterly Magazine of History, 4(4), 170–196.
Goubert, P. (1971). Local History. Daedalus, 100(1), 113–127.
Gough, D. J. (2012). Local history and the public history: Working with the community. London: Palgrave Macmillan.
Harding, P. (2007). Local History and Atthidography. In A Companion to Greek and Roman Historiography, J. Marincola (Ed.). New Jersey: Blackwell Publishing Ltd.
Samuel, R. (2003). Local history and oral history. In Field Research London: Routledge.
Shaw, C. W. (2005). The importance of local history. London: Routledge.
Thompson, P. (1998). Oral history and local history. California: University of California Press.