แนวทางในการกำหนดคุณสมบัติของทนายความอาสาในการคุ้มครองสิทธิของจำเลยหรือผู้ต้องหาในคดีอาญา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการกำหนดคุณสมบัติของทนายความอาสาในการคุ้มครองสิทธิของจำเลยหรือผู้ต้องหาในคดีอาญา ซึ่งพิจารณาจากปัญหา ดังนี้ 1) การกำหนดอายุของทนายความอาสา 2) การจัดหาทนายความอาสา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากแนวคิด ทฤษฎี เอกสารทางกฎหมาย
ผลการวิจัยพบว่า การกำหนดคุณสมบัติของทนายความอาสา 1) ประกาศคณะกรรมการทนายความอาสา (กทอ) เรื่องการรับสมัครและแต่งตั้งทนายความอาสา (ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2563) กำหนดให้ผู้ที่จะมาเป็นทนายความอาสาจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 23 ปี ในวันรับสมัคร ซึ่งการกำหนดอายุขั้นต่ำดังกล่าวน้อยเกินไป อาจทำให้ขาดความรอบครอบและประสบการณ์ในการดำเนินคดี และ 2) กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่พนักงานสอบสวนต้องปฏิบัติในการจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาในคดีอาญา พ.ศ. 2549 ข้อ 6 ในการจัดหาทนายความอาสา ให้พนักงานสอบสวนจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหา จากบัญชีที่กระทรวงจัดส่งให้ตามลำดับหมายเลขของบัญชีที่จัดไว้ การกำหนดบัญชีรายชื่อดังกล่าว ผู้ต้องหาหรือจำเลยอาจไม่ได้ทนายความอาสาที่ไม่ตรงกับความเชี่ยวชาญแห่งคดีที่เกิดขึ้น จึงเสนอแก้ไขเพิ่มเติม 1) ประกาศคณะกรรมการทนายความอาสา (กทอ) เรื่องการรับสมัครและแต่งตั้งทนายความอาสา คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นทนายความอาสา (ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2563) ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี ในวันรับสมัคร และ 2) กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่พนักงานสอบสวนต้องปฏิบัติในการจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาในคดีอาญา พ.ศ. 2549 ข้อ 6 ให้พนักงานสอบสวนจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาตามความเชี่ยวชาญแห่งคดี จากบัญชีที่กระทรวงจัดส่งให้ตามลำดับหมายเลขของบัญชีที่จัดไว้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์โดย วารสารศึกษิตาลัย วัดศรีสุมังคล์
เลขที่ 962 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทร. 086-8894578
E-mail : Sjmcunk@gmail.com
Website :https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ
References
เอกสารอ้างอิง
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่พนักงานสอบสวนต้องปฏิบัติในการจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาในคดีอาญา. (2549). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 11 ก หน้า 30 (16 กุมภาพันธ์ 2550).
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2551). ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Right). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการต่างประเทศ.
คนึง ฦาไชย. (2556). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เล่ม 2. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลาฯ.
ชาติชาย กริชชาญชัย. (2527). สิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยที่จะได้รับทนายความในสหรัฐอเมริกา. ใน ดุลพาห, 6(31), 41-54.
ชีพ จุลมนต์. (2556). สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา : กรณีสิทธิของผู้ต้องหาและจำเลยในการได้รับความช่วยเหลือจากรัฐโดยการจัดหาทนายความช่วยเหลือทางคดี. หลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 1: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.
ณรงค์ ใจหาญ. (2556). หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
บุศรินทร์ ใหม่รุ่งโรจน์. (2551). จริยธรรมของทนายความขอแรงในศาลจังหวัดเชียงใหม่. ใน วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปกป้อง ศรีสนิท. (2552). สิทธิการมีทนายในคดีอาญา. เรียกใช้เมื่อ 13 มกราคม 2564 จาก http://thaiaixois.online.fr/etc/ong_lawer.htm.
ประกาศคณะกรรมการทนายความอาสา (กทอ). (2563). เรื่องการรับสมัครและแต่งตั้งทนายความอาสา . (ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2563).
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. (2478). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 หน้า 598 (10 มิถุนายน 2478).
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก หน้า 1 (6 เมษายน 2560).
วีระ โลจายะ. (2532). กฎหมายสิทธิมนุษยชน. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
สอาด หอมมณี. (2559). ปัญหาการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายของทนายความขอแรง. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 12(6), 19-26.
สุพจน์ จันทราอุกฤษฏ์. (2556). ประสิทธิภาพของทนายความขอแรงกับเงินรางวัล : ศึกษาเฉพาะกรณีศาลจังหวัดหลังสวน. หลักสูตรผู้พิพากษาผู้บริหารในศาลชั้นต้น รุ่น 11.