แนวทางในการกำหนดคุณสมบัติของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระดับองค์การบริหารส่วนตำบล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการกำหนดคุณสมบัติของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งพิจารณาจากปัญหา ดังนี้ 1) การกำหนดคุณวุฒิขั้นต่ำของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้บริหาร หรือ 2) การเคยเป็นสมาชิกสภาตำบล สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาจากแนวคิด ทฤษฎี เอกสารกฎหมาย
ผลการวิจัยพบว่า นับตั้งแต่พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2562 มาตรา 58/1 มีบทบัญญัติให้ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นและต้องมีคุณสมบัติ 1) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ซึ่งในขณะที่การกำหนดคุณวุฒิขั้นต่ำของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และนายกเมืองพัทยา จะต้องมีคุณวุฒิสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า เนื่องจากผู้บริหารท้องถิ่นที่ผู้มีความรู้จะสามารถบริหารท้องถิ่นให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของประชาชนได้ดี และจะเป็นพื้นฐานในการพัฒนาด้านการศึกษาให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น 2) เคยเป็นสมาชิกสภาตำบล สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา ซึ่งผู้ที่มีประสบการณ์ดังกล่าวอาจจะไม่มีการพัฒนาการศึกษา จึงเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2562 มาตรา 58/1 “(2) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า” และให้ยกเลิกในส่วนของเคยเป็นสมาชิกสภาตำบล สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมาชิกรัฐสภา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
สงวนสิทธิ์โดย วารสารศึกษิตาลัย วัดศรีสุมังคล์
เลขที่ 962 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทร. 086-8894578
E-mail : Sjmcunk@gmail.com
Website :https://so01.tci-thaijo.org/index.php/SJ
References
เอกสารอ้างอิง
คณิน บุญสุวรรณ. (2542). คู่มืออ่านรัฐธรรมนูญฉบับใหม่: โครงสร้างและหลักการรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์วิชาการ.
จรัส สุวรรณมาลา และคณะ. (2558). ทิศทางการปกครองท้องถิ่นไทย. คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: สนับสนุนทุนวิจัยโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2545). คำอธิบายกฎหมายปกครอง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2540). การปกครองท้องถิ่นกับการบริหารจัดการท้องถิ่น อีกมิติหนึ่งของอารยธรรมโลก ภาคแรก : จากยุคกรีกถึงทุนนิยมตะวันตก. กรุงเทพมหานคร: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
ปวีณา ธูปทอง. (2546). ความพร้อมในการจดการศึกษาระดับประถมวัยขององค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอเมืองเชียงใหม่. ใน รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระราชบัญญัติเทศบาล. (2496). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 70 ตอนที่ 14 หน้า 222 (17 กุมภาพันธ์ 2496).
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร. (2528). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 102 ตอนที่ 115 ฉบับพิเศษ หน้า 1 (11 สิงหาคม 2528).
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน. (2534). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 156 ฉบับพิเศษ หน้า 2 (4 กันยายน 2534).
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา. (2542). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 120 ก หน้า 21 (29 พฤศจิกายน 2542).
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล. (2537) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 111 ตอนที่ 53 ก หน้า 11 (2 ธันวาคม 2537).
พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด. (2540). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนที่ 62 ก หน้า 1 (31 ตุลาคม 2540).
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2540). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนที่ 55 ก หน้า 1 (11 ตุลาคม 2540).
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก หน้า 1 (6 เมษายน 2560).
สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2539). รวมบทความกฎหมายการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม.
สาลินี อ่อนวงษ์. (2551). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. ใน ปริญญานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.
สุรพล นิติไกรพจน์. (2548). องค์การมหาชน:แนวคิดรูปแบบและวิธีการบริหารงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายโรงพิมพ์ กองกลาง สำนักงาน กพ.