การประเมินการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์บนฐานวิถีชีวิตใหม่ สำหรับนักศึกษาอาชีวศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินความพร้อมของนักศึกษาสำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์บนฐานวิถีชีวิตใหม่ฯ 2) เพื่อพัฒนาห้องเรียนสำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์บนฐานวิถีชีวิตใหม่ฯ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์บนฐานวิถีชีวิตใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักศึกษาระดับปวส. ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 95 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ห้องเรียน Google Classroom สำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ฯ (2) แบบประเมินความพร้อมของนักศึกษาสำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (3) แบบประเมินความเหมาะสมห้องเรียนสำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (%) , ค่าเฉลี่ย () , ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพร้อมของนักศึกษาสำหรับการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์บนฐานวิถีชีวิตใหม่ฯ เกิน 50 % จำนวน 5 รายการคือ 1. นักศึกษามีสมาร์ทโฟน (Smart Phone) ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ (100 %) 2. นักศึกษามี Facebook สำหรับใช้ติดต่อสื่อสารได้ (100 %) 3. นักศึกษามี Gmail (80.30 %) 4. นักศึกษามี/เคยใช้ Google Classroom (74.80 %) 2) ความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อห้องเรียนสำหรับการสอนแบบออนไลน์บนฐานวิถีชีวิตใหม่ฯ ในภาพรวมมีค่าระดับความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.78 S.D = 0.19) 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์บนฐานวิถีชีวิตใหม่ฯ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.73, S.D. = 0.36)