การศึกษาผลการเชื่อมอาร์กโลหะแก๊สคลุมร่วมกับการอบคืนตัวรอยเชื่อม ต่อสมบัติการเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ ST37

Main Article Content

กองบรรณาธิการวารสารวิชาการ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาค่าความแข็งของชิ้นงานเชื่อมหลังจากผ่านการอบคืนตัวแนวเชื่อม และ 2) ศึกษาโครงสร้างจุลภาคบริเวณผลกระทบร้อนของชิ้นงานหลังจากผ่านการอบคืนตัวแนวเชื่อม โดยกำหนดปัจจัยได้แก่ กระแสไฟ 250 Amp และความเร็วในการเชื่อม 400 มิลลิเมตร/นาที ในการศึกษาใช้เครื่องเชื่อม EWM รุ่น P 351 ใช้ลวดเชื่อม รหัส ER 70s-6 ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.2 มิลลิเมตร ใช้แก๊สผสมระหว่างแก๊สอาร์กอน 80% และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 20% โดยนำชิ้นงานมาเชื่อมทับแนวตั้งแต่ 10 - 100 เปอร์เซ็นต์ และนำไปตัดในช่วงเปอร์เซ็นต์ 10 - 100 เปอร์เซ็นต์ แล้วนำเหล็กไปทดสอบหาคุณภาพทางกลด้านความแข็ง และศึกษาโครงสร้างจุลภาคของชิ้นงาน ผลการทดลองคุณภาพทางกลด้านความแข็งบริเวณเนื้อแนวเชื่อม บริเวณผลกระทบร้อน และบริเวณเนื้อชิ้นงาน พบว่าในช่วงการเชื่อมทับแนว 80-90 % ได้ค่าสมบัติทางกลด้านความแข็งที่ดีที่สุด และบริเวณผลกระทบร้อนหลังจากการเชื่อมอบคืนตัวรอยเชื่อม โดยการเชื่อมทับแนวเม็ดเกรนจะมีขนาดใกล้เคียงกัน จัดเรียงตัวเป็นระเบียบ  และมีเม็ดเกรนใกล้เคียงกับเนื้อชิ้นงานเชื่อม ทำให้สมบัติทางกลของชิ้นงานดีกว่าก่อนการอบคืนตัวรอยเชื่อม

Article Details

บท
บทความวิจัย