รูปแบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาเกษตรยุคใหม่ (Smart Agricultural College) เพื่อขับเคลื่อนคุณภาพผู้เรียน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย

Main Article Content

นิมิตร อาศัย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารจัดการอาชีวศึกษาเกษตรยุคใหม่ (Smart Agricultural College) เพื่อขับเคลื่อนคุณภาพผู้เรียน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย 2) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาเกษตรยุคใหม่ (Smart Agricultural College) เพื่อขับเคลื่อนคุณภาพผู้เรียน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย 3) ทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาเกษตรยุคใหม่ (Smart Agricultural College) เพื่อขับเคลื่อนคุณภาพผู้เรียน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาเกษตรยุคใหม่ (Smart Agricultural College) เพื่อขับเคลื่อนคุณภาพผู้เรียน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้  ได้แก่ กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรมภายใต้โครงการทดลองใช้รูปแบบ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ครูผู้สอน จำนวน 30 คน ผู้เรียน จำนวน 60 คน และเกษตรกร จำนวน 32 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจและแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้ ความเข้าใจของผู้ร่วมกิจกรรมภายใต้โครงการทดลองใช้รูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


 


1 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย


2 Sukhothai College of Agriculture and Technology


*Corresponding Author, E-mail: [email protected]


 


ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารจัดการอาชีวศึกษาเกษตร  ยุคใหม่ (Smart Agricultural College) เพื่อขับเคลื่อนคุณภาพผู้เรียน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย พบว่า ควรประกอบด้วย จุดมุ่งหมายของการบริหารจัดการอาชีวศึกษาเกษตรยุคใหม่ มีคณะกรรมการบริหารจัดการอาชีวศึกษาเกษตรยุคใหม่ มีกระบวนการบริหารจัดการอาชีวศึกษาเกษตรยุคใหม่ และต้องคำนึงถึงคุณภาพผู้เรียนอาชีวศึกษาเกษตรยุคใหม่ 2. รูปแบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาเกษตรยุคใหม่ (Smart Agricultural College) เพื่อขับเคลื่อนคุณภาพผู้เรียน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย ประกอบด้วย                4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) จุดมุ่งหมายของการบริหารจัดการอาชีวศึกษาเกษตรยุคใหม่ (Smart Goal) 2) คณะกรรมการบริหารจัดการอาชีวศึกษาเกษตรยุคใหม่ (Smart Committee)          3) กระบวนการบริหารจัดการอาชีวศึกษาเกษตรยุคใหม่ (Smart Agricultural Management) 4) คุณภาพผู้เรียนอาชีวศึกษาเกษตรยุคใหม่ (Smart Quality) 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาเกษตรยุคใหม่ (Smart Agricultural College) เพื่อขับเคลื่อนคุณภาพผู้เรียน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย พบว่า ความพึงพอใจของผู้ร่วมกิจกรรมภายใต้โครงการทดลองรูปแบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาเกษตรยุคใหม่ (Smart Agricultural College) เพื่อขับเคลื่อนคุณภาพผู้เรียน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้ ความเข้าใจของผู้ร่วมกิจกรรมภายใต้โครงการทดลองใช้รูปแบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาเกษตรยุคใหม่ (Smart Agricultural College) เพื่อขับเคลื่อนคุณภาพผู้เรียน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบ พบว่า 1) คุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย คะแนนเฉลี่ย      ผลการเรียนปีการศึกษา 2562 หลังใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนใช้ในปีการศึกษา 2561 2) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการบริหารจัดการอาชีวศึกษาเกษตรยุคใหม่ อยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย เกี่ยวกับรูปแบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาเกษตรยุคใหม่ อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย