รูปแบบการเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการศึกษาและการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีของโรงเรียนบ้านตอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 A MODEL FOR ENHANCING THE POTENTIAL IN EDUCATION MANAGEMENT AND TEACHING AND LEARNING BY USING TECHNOLOGY, BANTONG SCHOOL, NAN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1 / 5E MODEL
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ประเทศไทยในยุคศตวรรษที่ 21 เทคโนโลยีและการสื่อสารได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการศึกษา การใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในการทำงาน การหาข้อมูล การสื่อสาร การจัดเก็บเอกสาร การซื้อขายสินค้า การทำธุรกรรมทางการเงิน หรือแม้กระทั่งการจัดการเรียนการสอน การจัดส่งเอกสารที่สามารถทำได้อย่างสะดวกสบายได้ทุกที่ทุกเวลา ทำให้เกิดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ใช้การบริหารจัดการแนวใหม่ที่มุ่งพัฒนาโรงเรียนทุกด้าน ทั้งด้านวิชาการ กระบวน การเรียนรู้ สภาพแวดล้อมของโรงเรียนและนำเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้และการบริหารจัดการ โรงเรียนต้องมีการปรับตัวเพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้การดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ประกอบไปด้วย ระบบจัดการเอกสารน (E-Office) ระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อประกอบการตัดสินใจ (E-Director), ระบบจัดการผลการเรียนและธุรการในชั้นเรียน (E-Teacher) ระบบจัดการเรียนการสอน (E-Learning) และระบบรายงานผลการศึกษาและประวัติ (E-Student) ซึ่งครอบคลุมทั้งการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอนส่งผลให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็วและแม่นยำ เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานรวมถึงลดภาระงานของครูและบุคลากรทางการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยี
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
สภัทรศักดิ์ คำสามารถ และคณะ. (2560). การเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
ในศตวรรษที่ 21. วารสารนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้. 2(1), 55-68
รสสุคนธ์ มกรมณี. (2556). ครูไทยกับ ICT. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการของคุรุสภา ประจำปี 2556
เรื่องการวิจัยเพื่อเพิ่มคุณภาพทางศึกษาและพัฒนาวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. ทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการ
ปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล ตาม (ว6/2561). สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://www.ocsc.go.th/digital_skills2
มะยุรี สุริสาย และคณะ. (2558). การพัฒนาครูด้านการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อ
พัฒนาการเรียนการสอน : กรณีโรงเรียนนาขามวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกาฬสินธิ์
ศิษฏ์ชนา ดวงบาล และคณะ. (2562).แนวทางการพัฒนาครูด้านการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียน
การสอนโรงเรียนวัดแม่แก้ดน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 2.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหามกุฏราชวิทยาลัย
Greedis Goods. ECRS คืออะไร. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://greedisgoods.com/ecrs-คือ/
Wiki. PDCA. สืบค้น 10 กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/PDCA
อินทิรา ชูศรีทอง. (2563). รูปแบบการพัฒนาครูในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการ
เรียนรู้ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 (วิทยานิพนธ์ปริญญา
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร