การพัฒนาการบริหารงานวิชาการที่ยึดโยงกับมาตรฐานอาชีพ : กรณีศึกษาสาขาไฟฟ้า และพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ วิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัย THE DEVELOPMENT OF ACADEMIC ADMINISTRATION LINKING WITH VOCATIONAL STANDARD : A CASE OF ELECTRICAL AND SOLAR ENERGY PROGRAM OF SUKHOTHAI POLYTECHNIC COLLEGE

Main Article Content

สมใจ รอดคง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อพัฒนาการบริหารงานวิชาการที่ยึดโยงกับมาตรฐานอาชีพ : กรณีศึกษาสาขาไฟฟ้าและพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ วิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัย วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 5 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการที่ยึดโยงกับมาตรฐานอาชีพ : กรณีศึกษาสาขาไฟฟ้าและพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ วิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัย โดยการวิเคราะห์เอกสารและจากแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 28 คน ดำเนินการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตอนที่ 2 การสร้างการพัฒนาการบริหารงานวิชาการที่ยึดโยงกับมาตรฐานอาชีพ : กรณีศึกษาสาขาไฟฟ้าและพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ วิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัย ดำเนินการโดยการสังเคราะห์องค์ประกอบของการพัฒนาการบริหาร การสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และครูผู้สอนที่เกี่ยวข้อง จำนวน 13 คน และตรวจสอบการพัฒนาการบริหาร โดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน รวมทั้งประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของการพัฒนาการบริหาร ด้วยแบบประเมิน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตอนที่ 3 การทดลองใช้ ด้วยการดำเนินการตามกิจกรรมภายใต้โครงการ จำนวน 4 โครงการ กำหนดระยะเวลา 1 ภาคเรียน ตอนที่ 4 การนำไป สู่การปฏิบัติจริง ด้วยการดำเนินการตามกิจกรรมภายใต้โครงการ จำนวน 4 โครงการ กำหนดระยะเวลา 1 ปีการศึกษา ตอนที่ 5 การประเมินผลการพัฒนาการบริหารงานวิชาการที่ยึดโยงกับมาตรฐานอาชีพ : กรณีศึกษาสาขาไฟฟ้าและพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ วิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัย ใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามและแบบรายงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


           ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันการพัฒนาการบริหารงานวิชาการที่ยึดโยงกับมาตรฐานอาชีพ : กรณีศึกษาสาขาไฟฟ้าและพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ วิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัย โดยการใช้แบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง


  1. ผลการสร้างการพัฒนาการบริหารงานวิชาการที่ยึดโยงกับมาตรฐานอาชีพ : กรณีศึกษาสาขาไฟฟ้าและพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ วิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัย พบว่า ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 3 องค์ประกอบ 17 ตัวชี้วัด ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 ปัจจัยนำเข้าการบริหารงานวิชาการที่ยึดโยงกับมาตรฐานอาชีพ องค์ประกอบที่ 2 กระบวนการบริหารงานวิชาการที่ยึดโยงกับมาตรฐานอาชีพ และ องค์ประกอบที่ 3 ผลผลิตจากการบริหารงานวิชาการที่ยึดโยงกับมาตรฐานอาชีพ

  2. ผลการทดลองใช้ ด้วยโครงการ จำนวน 4 โครงการ พบว่า ความสำเร็จของโครงการทดลองใช้การพัฒนาการบริหารงานวิชาการที่พัฒนาขึ้น ในภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจของผู้ร่วมกิจกรรมภายใต้โครงการ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด

  3. ผลการนำการพัฒนาการบริหารงานวิชาการที่ยึดโยงกับมาตรฐานอาชีพ : กรณีศึกษาสาขาไฟฟ้าและพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ วิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัย สู่การปฏิบัติ พบว่า ความสำเร็จของโครงการ ในภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และความพึงพอใจของผู้ร่วมกิจกรรมภายใต้โครงการ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด

  4. ผลการประเมินผลการพัฒนาการบริหารงานวิชาการที่ยึดโยงกับมาตรฐานอาชีพ : กรณีศึกษาสาขาไฟฟ้าและพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ วิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัย พบว่า 1) สมรรถนะผู้เรียนด้านความรู้และทักษะ ในหมวดวิชาชีพมีค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.31 และ หมวดวิชาพื้นฐานประยุกต์ มีค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.45 และสมรรถนะผู้เรียนด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้และความรับผิดชอบ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผู้เรียนที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานอาชีพของสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแห่งชาติ เฉลี่ยร้อยละ 100 3) ผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษามีงานทำและต่อยอดไปประกอบวิชาชีพช่างไฟฟ้าและพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ประสบความสำเร็จ เฉลี่ยร้อยละ 76.58 4) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการพัฒนาการบริหารงานวิชาการที่ยึดโยงกับมาตรฐานอาชีพ วิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัย ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และ5) ความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มีต่อสมรรถนะของผู้สำเร็จการศึกษาสาขาไฟฟ้าและพลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ จากวิทยาลัยสารพัดช่างสุโขทัย ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

สมาน อัศวภูมิ. (2554). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่. อุบลราชธานี : อุบลกิจออฟเซท

การพิมพ์.

ปัญญา แก้วกียูร. (2553). การบริหารจัดการศึกษาในรูปแบบการใช้โรงเรียนหรือพื้นที่

การศึกษาเป็นฐาน. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล. (2556). คิด ทำ แบบ ดร. อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล. กรุงเทพฯ :

NextBook@NBC.

ชาณิกา ปัญจพุทธานนท์. (2561). ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าจาก

แสงอาทิตย์ในประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรม

ราชูปถัมภ์. 11(3) : 11-19.

ทัศนีย์ วงศ์ยืน. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.

จิรวิทย์ มั่นคงวัฒนะ. (2555). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา.

(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.

ไชยา ประพันธ์ศิริ. (2561). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนา

คุณภาพผู้เรียน ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย สังกัดสำนักงาน

คณะกรรมการการอาชีวศึกษา. สุโขทัย: วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

ณรงค์ พิมสาร. (2563). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ. 7(2) : 315-316.

จิรวัฒน์ ชินศรี. (2559). พัฒนารูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้วยหลักการทำงาน

เป็นทีมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนของวิทยาลัยสารพัดช่างน่าน สังกัดสำนักงาน

คณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

เชียงราย. 11(3): 1-12.

ชนันภรณ์ ศรีคงเพ็ชร. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา

ขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2.

มหาสารคาม : วารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฉบับพิเศษ).

จันทรานี สงวนนาม. (2552). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา.

(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.

แววศิริ วิวัจนสิรินทร์. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมี

ส่วนร่วมที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรุงเทพมหานคร.

วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและผู้นำการ

เปลี่ยนแปลง มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

Deming, W. E. (1986). Out of the Crisis. Cambridge. Mass: Massachusetts Institute of Technology.

พิทยา ชินะจิตพันธุ์. (2560). รูปแบบการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสาขาช่างอุตสาหกรรม. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 22(1), 180-190

สนธิรัก เทพเรณู. (2551). การบริหารจัดการศึกษาตามยุทธศาสตร์ใหม่ของการพัฒนาระบบราชการ. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา กระทรวง ศึกษาธิการ.

Dubrin. (2010). Essentials of Management. (5th ed). New York : South-Western College Publishing.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

พีรพงษ์ พันธ์โสดา. (2561). การพัฒนาสมรรถนะอาชีพช่างไฟฟ้าโรงงาน โดยใช้โครงงานวิชาชีพเป็นฐานระบบทวิภาคี สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 98(2).