ครูไทยกับความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์

Main Article Content

คุณัชญา ทิพยานุรักษ์สกุล

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีทำให้วงการการศึกษาทั่วโลกได้รู้จักกับการเรียนการสอนในรูปแบบ ‘ออนไลน์’ มาแล้วระดับหนึ่ง แต่ก็ย่อมปฏิเสธไม่ได้ว่าการเรียนผ่านจอไม่อาจได้ผลลัพธ์ดีเท่ากับการเรียนในห้องเรียน ที่ครูกับนักเรียน รวมถึงนักเรียนด้วยกันเองได้มีปฏิสัมพันธ์กันแบบเห็นหน้ากันจริงๆ การเรียนออนไลน์ที่ผ่านมาจึงเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งที่ถูกใช้บางโอกาสเท่านั้น  ทว่าเมื่อเกิดการระบาดของโควิด-19 การเรียนในโหมดออนไลน์ก็ได้กลายจากทางเลือกมาเป็น “ทางหลัก” ของการเรียนการสอนในหลายพื้นที่ทั่วโลกทันที แต่ละประเทศจึงต่างพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนการสอนออนไลน์ของตัวเองออกมาในรูปแบบต่างๆ หรือไม่ก็นำโปรแกรมเดิมที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ประเทศไทยก็เช่นกัน  การเกิดขึ้นของโควิด-19 จะเป็นสัญญาณสำคัญที่ผลักดันให้ครูไทยเกิดการปรับตัว และนำมาซึ่งเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษารูปแบบใหม่ ที่ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง การเตรียมการและการฝึกฝนทักษะของครู ไม่ว่าจะพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี การสื่อสาร และการถ่ายทอด การเป็นผู้ให้คำปรึกษาที่ดี รวมทั้งความกระตือรือร้นในการบริหารจัดการปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ และประเมินผลที่เหมาะสมกับสถานการณ์ให้ได้มากที่สุดเพื่อปฏิบัติหน้าที่ครู ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพให้แก่นักเรียนโดยก้าวข้ามข้อจำกัดเรื่องสถานที่และอุปสรรคต่างๆ ได้ในที่สุด อย่างไรก็ตาม คำถามที่อาจเกิดขึ้นได้คือ ครูมีความพร้อมแค่ไหนในการรับมือกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของการศึกษาไทย พร้อมแค่ไหนกับการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ในช่วงวิกฤตนี้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

[1] การจัดการศึกษาไทยภายใต้ภาวะโควิด-๑๙, (ออนไลน์) https://www.kenan- asia.org/th/covid-19-education-impact/ 15 สิงหาคม 2564.
[2] ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค (ออนไลน์) https://thestandard.co/the-important-change-of-world-education/15 สิงหาคม 2564.
[3] วิทยา วาโย และคณะ,การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสCOVID-19,วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและ อนามัยสิ่งแวดล้อม : ปีที่ 14 ฉบับที่ 34 (2020) : พฤษภาคม -สิงหาคม 2563.
[4]วิทัศน์ ฝักเจริญผล และคณะ. (2563). ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ ภายใต้สถานการณ์ระบาด ไวรัส Covid-19.วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 4(1), 44-61.
[๕] ศ. ดร. ปรัชญนันท์ นิลสุข. ผู้ทรงคุณวุฒิ ในการเสวนา.
[6] จารุณี สินชัยโรจน์กุล. ผู้ทรงคุณวุฒิ ในการเสวนา.
[7]รูปแบบการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, (ออนไลน์) : http://www.sea12.go.th/spv/index.php/component/content/article/35-63/150--2019-, 15 สิงหาคม 2564.
[8] 8 วิธีสอนออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ที่ดี, (ออนไลน์): https://xn--12cg5gc1e7b.com/24199/,1 สิงหาคม 2564.
[9] เปรียบเทียบแอปพลิเคชันสำหรับการเรียนการสอนออนไลน์, (ออนไลน์):https://ict.pbru.ac.th/?p=4084,13 สิงหาคม 2564.
[10] วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือน มกราคม – มิถุนายน 2563 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
[11]ถวิล จันทร์ชนะ. (2534). การบริหารเชิงกลยุทธ์และนโยบายธุรกิจ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรุงธนพัฒนา.
[12] จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ. (2541). การจัดการด้านปัจจัยในการบริหารงาน.กรุงเทพฯ :
ไทยวัฒนาพานิช.