การควบคุมแขนกล KUKA ร่วมกับ PLC PLC CONTROLLED KUKA MECHANICAL ARM
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการทำงานและควบคุมแขนกล KUKA โดยใช้โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ (พีแอลซี) ในการต่อร่วมในระบบควบคุม 2) ออกแบบคู่มือและขั้นตอนการควบคุมแขนกล KUKA ร่วมกับ พีแอลซี 3) หาประสิทธิภาพ ของคู่มือและขั้นตอนควบคุมแขนกล KUKA 4) ศึกษาความพึงพอใจของคู่มือและขั้นตอนควบคุมแขนกล KUKA
กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมการใช้งานแขนกลร่วมกับ
พีแอลซี จำนวน 5 ท่าน 2) นักศึกษาปริญญาตรี เทคโนโลยีไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคสุโขทัย จำนวน 45 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบการทดสอบประสิทธิภาพ และแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้งานคู่มือและขั้นตอนควบคุมแขนกล KUKA โดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจากการวิจัยพบว่า 1) การทำงานและควบคุมแขนกล KUKA โดยใช้โปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์ (พีแอลซี) ในการต่อร่วมในระบบควบคุมมีประสิทธิภาพในการทำงานสำเร็จ 100%
2) ความพึงพอใจของการใช้คู่มือและขั้นตอนควบคุมแขนกล KUKA ของผู้เชี่ยวชาญ ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก 3) ความพึงพอใจของการใช้คู่มือและขั้นตอนควบคุมแขนกล KUKA ของกลุ่มตัวอย่าง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
https://www.sirris.be/blog/four-trends-robotics
Timotei, Tamas, Zsolt. el al “Industrial KUKA Robot Manipulator in
Simulation Environment and Position Read-back.” Conference Paper. June
Johannes B., Sigrid B-C. “Adaptive Robot Control New Parametric
Workflows Directly from Design to KUKA Robots.” eCAADe 33,
Fabrication - Robots - Volume 2, 2014, p.243-250.
www.kuka.com : KMC – KUKA Motion Control.
https://en.wikipedia.org/wiki/Denavit%E2%80%93Hartenberg_parameters
Timo K., “Controlling a Robotic Arm manipulator with a PLC.” Degree program Bachelor in Mechanical Engineering and Production Technology, 2012
พันศักดิ์ เนระแก.(2558). การออกแบบหุ่นยนต์แบบหยิบและวางที่ใช้ระบบการมองเห็นของเครื่องจักร, วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการผลิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ภูษิต บุณยทรรพ. (2549). “การศึกษาการทำงานของตัวแขนกลโดยใช้เซอร์โวมอเตอร์”,
การประชุมวิชาการระดับชาติพิบูลสงครามวิจัย,ครั้งที่ 5, 15 มีนาคม พ.ศ.2562, หอประชุม
ศรีวชิรโชติ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
ชมทิพย์ พรพนมชัย และคณะ. (2550). การควบคุมการปฏิบัติการของแขนกลหุ่นยนต์
คอมพิวเตอร์ผ่านระบบเครือข่าย, วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต ภาควิชาคอมพิวเตอร์
คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล.
กิตติพงษ์ พุ่มโภชนา.(2561). การศึกษาและพัฒนาแขนกลอุตสาหกรรมแบบจับ-วาง ชนิด 3 แกนที่ควบคุมตำแหน่งการเคลื่อนที่ได้แบบป้อนกลับด้วยสัญญาณอนาล็อก ที่ควบคุมการทำงานด้วย พีแอลซี ที่ใช้ในงานการผลิตแบบอัตโนมัติ เพื่อตอบรับการเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0, สาขาวิชา วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.