สื่อสังคมออนไลน์และปัญญาประดิษฐ์กับการเรียนภาษาอังกฤษในยุคของการเปลี่ยนแปลง SOCIAL DIGITAL PLATFORMS ANF ARTIFICIAL INTELLIGENCE IN ENGLISH LEARNING IN THE MODERN ERA OF CHANGE

Main Article Content

ฐิตารีย์ จันทรวัทน์
ภาสกร เรืองรอง
กอบสุข คงมนัส
พวงมาลัย จันทรเสนา

บทคัดย่อ

วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลก รวมไปถึงการศึกษาที่ต้องปรับตัวให้สะดวกและเข้าถึงได้ง่าย การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในยุคนี้จึงควรมีเทคนิคที่หลากหลายเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook Twitter Youtube นอกจากนี้ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ยังมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงวิธีการสอนภาษาอังกฤษให้ตอบสนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียน เทคโนโลยีนี้ช่วยให้ผู้สอนสามารถปรับแต่งการสอนตามความต้องการของผู้เรียนแต่ละบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์ประเมินผลภาษาอัตโนมัติสามารถช่วยผู้สอนระบุจุดอ่อนของผู้เรียนแต่ละคนและออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เทคโนโลยี AI ยังสามารถใช้เพื่อสร้างแบบจำลองภาษาที่ช่วยให้ผู้เรียนฝึกฝนทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์และปัญญาประดิษฐ์เหล่านี้จะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ สามารถค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ และส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองจนเกิดทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์. (2554), – สื่อสังคมออนไลน์: สื่อแห่งอนาคต. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/ oct_dec_11/ pdf/aw016.pdf

Solis, B. (2016). The conversation prism. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2564, จากhttps://conversationprism.com/

ขวัญชนก พุทธจันทร์. (2563). ปัญญาประดิษฐ์ (AI: Artificial Intelligence). สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564, จาก https:// www.lib.ku.ac.th/2019/index.php/covid-19/1045-artificialintelligence

Office of the Education Council. (2020). Artificial Intelligence (AI) to develop learning (Vol. 40). Bangkok: Chili Wan Graphic Co. Ltd. .

นฤมล บุญส่ง. (2561). สื่อสังคมกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21.

กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Guilherme, A. (2019). AI and education: the importance of teacher and student relations. AI and Society, 34(1), 47-54.

อรวรรณ อินทะสีดา.(2556) การพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษของ

ผู้เรียนโดยใช้ facebook. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564, จาก

https://www.gotoknow.org/posts/542896

ธนะวัฒน์ วรรณประภา.(2560) สื่อสังคมออนไลน์กับการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คอง แยง หวู. (2564) การพัฒนาระบบการเรียนรู้เชิงลักษณะส่วนบุคคลที่ขับเคลื่อนด้วย ปัญญาประดิษฐ์เพื่อความเข้าใจการฟังภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศและหรือ ภาษาอังกฤษในฐานะภาษาที่สอง. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี