รูปแบบการเสริมสร้างวินัย และความซื่อสัตย์ของนักเรียนในโรงเรียนบ้านตอง “เด็กดี สี่บี ศรีบ้านตอง” DISCIPLINE ENHANCING MODEL AND HONESTY OF STUDENTS IN BAN TONG SCHOOL "DEK DEE, SI B, SRI BAN TONG"

Main Article Content

วุฒิชัย โลนันท์
พิชญาภา ยวงสร้อย

บทคัดย่อ

การจัดการศึกษาของประเทศไทยตั้งแต่เริ่มจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบมาจนถึงปัจจุบันเห็นได้ว่า แผนการศึกษาและหลักสูตรการศึกษาในระดับต่าง ๆ แต่ละฉบับที่ออกมาต่างก็มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนา เด็กไทย ซึ่งแนวทางในการจัดการศึกษาได้ วางไว้ว่า       “มุ่งพัฒนาชีวิตประชาชน ให้มีความสุขและอยู่ดีกินดีมีความสำนึกในความเป็นไทย รู้จักพึ่งตนเอง มีความคิด ริเริ่มสร้างสรรค์ฝึกฝนการปรับตัวในสังคมเน้นลักษณะ นิสัย ขยัน อดทน ซื่อสัตย์ประหยัด และ มีระเบียบวินัย การจัดการศึกษาในแต่ละระดับจึงเป็นกระบวนการที่ สำคัญในการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ กล่าวคือให้ความรู้ และคุณธรรม” รูปแบบการเสริมสร้างวินัยและความซื่อสัตย์ของนักเรียนในโรงเรียนบ้านตอง “เด็กดี สี่บี ศรีบ้านตอง” สามารถปลูกฝังนักเรียนในด้านคุณธรรมและจริยธรรมให้มีทักษะกระบวนการคิดมีวินัย มีความซื่อสัตย์ พอเพียง มีความรับผิดชอบ พูดจาไพเราะอ่อนหวาน บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์และอ่อนน้อมถ่อมตน เคารพผู้ใหญ่อย่างสม่ำเสมอ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับโรงเรียนให้เป็นที่ยอมรับของผู้ปกครองส่งลูกหลานมาเรียนที่โรงเรียนเพิ่มมากขึ้น และเป็นการพัฒนาที่แทบจะไม่ได้ใช้งบประมาณในการพัฒนา เพียงแต่ผู้ปฏิบัติทุกคนต้องร่วมมือกัน มุ่งมั่นที่จะพัฒนานักเรียนของตนอย่างเต็มกำลังความสามารถและปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ คือไม่เข้มงวดแต่ก็ไม่ตามใจ เน้นย้ำ ซ้ำทวน นักเรียนอยู่เสมอ รวมไปถึงช่วยกันเสริมแรงบวกให้กับนักเรียนที่ทำความดีเป็นที่ประจักษ์ให้กำลังใจและชมเชย สร้างทัศนคติที่ถูกต้องในการปฏิบัติตนเพื่อเสริมสร้างวินัยและความซื่อสัตย์ของนักเรียนในโรงเรียนบ้านตอง เป็นการสร้างคนดี คนเก่งให้ประเทศชาติสืบไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร:แโรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จากัด
มูลนิธิสยามกัมมาจล. พิมพ์ครั้งที่ 3. (2556). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: จากหลักคิดสู่วถี ปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จากัด (มหาชน).
นางสาวกรวิภา งามวุฒิวงศ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีม ภายในสำนัก อำนวยการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).
ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการทำงานเป็นทีม. (มปป). สืบค้นจาก https://ajsuthasinee.files.wordpress.com
กรรณิการ์ ทรัพย์สิน. (มปป). PDCA. สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/narubadininterschool/
phl-ngan/pdca-plan-do-check-act
พระธรรมกิตติวงศ์. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2562, สืบค้นจากวิกิพีเดีย https://th.wikipedia.org/wiki/สังคหวัตถุ_4
พระบรมราโชบายด้านการศึกษา ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10s. (มปป). สืบค้นจาก
http://nv.ac.th/site/?p=1878
วิภาส ทองสุทธิ์. (2560). รูปแบบการเสริมสร้างวินัยนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).