พัฒนาทักษะ เพิ่มทักษะและสร้างทักษะใหม่ สิ่งสำคัญสำหรับคนอาชีวศึกษา ในโลกยุคปกติใหม่ RESKILLING UPSKILLING AND NEW SKILL THE VOCATIONAL MANPOWER IN THE ERA OF THE NEW NORMAL
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอข้อมูล แนวคิด การพัฒนาทักษะกำลังคนอาชีวศึกษา (Reskill/Upskill/Newskill) เพื่อเตรียมความพร้อมการทำงานในอนาคตหลังวิกฤตโควิด-19 รวมทั้งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาและยกระดับทักษะผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์โควิด-19 พร้อมกลับสู่ตลาดแรงงานหรือประกอบอาชีพใหม่ สร้างทักษะให้กับกลุ่มว่างงาน/ แรงงานคืนถิ่น/ ผู้ประกอบการอาชีพอิสระ เพื่อให้สามารถสร้างงาน สร้างอาชีพด้วยตนเอง รวมทั้งเพิ่มทักษะชั้นสูงและการทำงานสมัยใหม่ให้กับกำลังคนในภาค SMEs และภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ตามแนวคิดการมุ่งพัฒนาวิชาชีพตลอดชีวิต (Lifelong Learning)
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีบทบาทสำคัญในกระบวนการผลิตและพัฒนากำลังคนที่มีคุณภาพ เพื่อให้แรงงานในทุกช่วงวัยได้เข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ และพัฒนาทักษะเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และตอบโจทย์ตลาดแรงงานในอนาคต รวมถึงการพัฒนาประเทศตามแนวคิดการพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-Long Learning) เพื่ออัพเดตให้มี “ทักษะชุดใหม่” ที่สามารถทำงานร่วมกับหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติได้ เพื่อเป็นการปรับตัวในการทำงานสำหรับโลกอนาคต เพื่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยในปี 2565 ได้มีจุดเน้น “ยกระดับคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาแบบองค์รวมโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน” เพื่อจะสนองตอบต่ออุปสงค์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว บนความความรับผิดชอบต่อประเทศในการพัฒนาอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
ดร. เสาวณี จันทะพงษ์ ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค และ นายกัมพล พรพัฒนไพศาลกุล ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจประจำธนาคารแห่งประเทศไทย. “การยกระดับทักษะแรงงานไทย: โจทย์ใหญ่ในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://www.bot.or.th, (1 ตุลาคม 2564).
ไทยพับลิก้า. “Lifelong Learning สร้างทักษะรับ Digital Future (ตอน 1): กำหนดเส้นทางอาชีพ”. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : https://thaipublica.org/2018/05/lifelong-learning-digital-disruption-reskill/ , (2 ตุลาคม 2564).
Praornpit Katchwattana. ระดมสมองยกระดับ ‘ทักษะแรงงานไทย’ โจทย์ใหญ่ที่ต้องรับมือ ในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://www.salika.co/2019/04/21/reskill-upskill-worker-disrupted-technology/, (1 ตุลาคม 2564).
สมพร ปานดำ. (2564). พัฒนาและยกระดับทักษะอาชีวศึกษาไทยในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก. วารสารรัฏฐาภิรักษ์วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร. 63(1), 124-133.
Praornpit Katchwattana. ระดมสมองยกระดับ ‘ทักษะแรงงานไทย’ โจทย์ใหญ่ที่ต้องรับมือ ในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://www.salika.co/2019/04/21/reskill-upskill-worker-disrupted-technology/, (10 ตุลาคม 2564).
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน). รับมือโลกหลัง COVID-19 กับ Reskill & Upskill ปรับวิธีการทำงาน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://www.pttgcgroup.com/th/updates/feature-stories/1448, (20 ตุลาคม 2564).
World Economic Forum (WEF), (2020), The Future of Jobs Report 2020 and Global Competitiveness Report 2020 (CGI)
เสาวณี จันทะพงษ์์ และคณะ. Upskill & Reskill: วัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันให้ “แรงงานชนะ” ในโลกทำงานยุคดิจิทัล. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles /Pages/Article_2Mar2021.aspx, (21 ตุลาคม 2564).
เสาวณี จันทะพงษ์์ และคณะ. การสำรวจวัดทักษะแรงงานผู้ใหญ่ (PIAAC Programme for the International Assessment of Adult Competencies) เป็นแบบทดสอบที่ใช้ในกลุ่ม OECD สำรวจมากกว่า 40 ประเทศทั่วโลก. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จากhttps://www.bot.or.th/Thai/ResearchAnd Publications/articles /Pages/Article_2Mar2021.aspx,(23 ตุลาคม 2564).
Suthasinee Lieopairoj. Reskilling, Upskilling ความท้าทายที่ทวีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ในโลกอนาคต (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://siamchamnankit.co.th/reskilling-upskilling , (25 ตุลาคม 2564).
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2564). ยกระดับคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษา แบบองค์รวมโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนา ยกระดับคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษา แบบองค์รวมโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 , (11พฤศจิกายน 2564).