กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มคุณภาพผู้เรียน ตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ วิทยาลัยการอาชีพบรรพตพิสัย THE STRATEGY FOR CREATING COOPERATIVE NETWORK TO INCREASE STUDENT’S QUALITY THROUGH NATIONAL VOCATIONAL EDUCATION QUALIFICATION FRAMEWORK, BUNPHOTPHISAI INDUSTRIAL AND COMMUNITY EDUCATION COLLEGE

Main Article Content

ทวีวัฒน์ รื่นรวย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อพัฒนากลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มคุณภาพผู้เรียน ตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ วิทยาลัยการอาชีพบรรพตพิสัย วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ตอน ตอนที่ 1 ศึกษาสภาพและองค์ประกอบในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มคุณภาพผู้เรียน ตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ วิทยาลัยการอาชีพบรรพตพิสัย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ครูผู้สอน จำนวน 28 คน รวมจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม และศึกษาองค์ประกอบในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน ตอนที่ 2 การพัฒนากลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มคุณภาพผู้เรียน ตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ วิทยาลัยการอาชีพบรรพตพิสัย โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก ด้วยเทคนิควิเคราะห์ SWOT และจัดทำร่างกลยุทธ์ โดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 5 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ครูผู้สอน จำนวน 10 คน ผู้แทนเครือข่ายความร่วมมือ จำนวน 7 คน และนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์ จำนวน 3 คน รวมผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 27 คน และตรวจสอบกลยุทธ์ โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) จำนวน 9 คน รวมทั้งประเมินความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์ ด้วยแบบประเมิน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน ตอนที่ 3 การทดลองใช้กลยุทธ์ ตามคู่มือการใช้กลยุทธ์ และกิจกรรมภายใต้โครงการทดลองใช้กลยุทธ์ ตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้กลยุทธ์ใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามและแบบรายงาน การวิจัยครั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มคุณภาพผู้เรียน ตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ วิทยาลัยการอาชีพบรรพตพิสัย โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.67) และองค์ประกอบในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ประกอบด้วย 1) ด้านการกำหนดเป้าหมายการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ 2) ด้านแนวทางการปฏิบัติงานเครือข่ายความร่วมมือ 3) ด้านเทคนิควิธีการพัฒนาสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือ 4) ด้านการธำรงรักษาสร้างความต่อเนื่องของเครือข่าย และ 5) ด้านการติดตามและประเมินผลการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ

  2. กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มคุณภาพผู้เรียน ตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ วิทยาลัยการอาชีพบรรพตพิสัย ประกอบด้วย 6 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มคุณภาพผู้เรียนตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ 2) ยกระดับการมีส่วนร่วมของเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ 3) พัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ เน้นการมีส่วนร่วมของเครือข่ายความร่วมมือ 4) เร่งรัดพัฒนาสมาชิกเครือข่ายความร่วมมือเพื่อเพิ่มคุณภาพผู้เรียนตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ 5) ส่งเสริมการธำรงรักษาและสร้างความต่อเนื่องของเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และ 6) เพิ่มขีดความสามารถในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานเครือข่ายความร่วมมือด้วยวิธีการที่หลากหลายและเน้นการมีส่วนร่วม และกลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68)

  3. ผลการทดลองใช้กลยุทธ์ พบว่า ความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และผู้แทนเครือข่ายความร่วมมือที่มีต่อกิจกรรมภายใต้โครงการทดลองใช้กลยุทธ์ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.72)

  4. ผลการประเมินผลการใช้กลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้น พบว่า 1) คุณภาพผู้เรียนตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ ด้านคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ด้านความรู้และทักษะ และด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้และความรับผิดชอบ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.56) 2) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อกลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.83) 3) ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และผู้แทนเครือข่ายความร่วมมือที่มีต่อกลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.75) 4) เครือข่ายที่ให้ความร่วมมือ และส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ เพิ่มขึ้นร้อยละ 87.76 5) ผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษามีงานทำและประกอบอาชีพอิสระประสบความสำเร็จ เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.81

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

ประยูร อัครบวร. (2553). การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์

แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ครรชิต พุทธโกษา. (2554). คู่มือการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ฉบับสมบูรณ์.

กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

เสรี พงศ์พิศ. (2555). เครือข่าย : ยุทธวิธีเพื่อประชาคมเข้มข้น ชุมชนเข้มแข็ง.

(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน.

สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. (2555). กรอบมาตรฐานหลักสูตร

อาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ : เอส.พี.วี. การพิมพ์ (2550).

เรวัช ศรีแสงอ่อน. (2564). แนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อน

คุณภาพการจัดการอาชีวศึกษาวิทยาลัยเทคนิคลพบุรี. วารสารวิจัยและ

นวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร. 4(1) : 44-45 : 33-34.

วิไลรัตน์ เพ็ชรหึง. (2563). การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพกำลังคนด้าน

การอาชีวศึกษาให้มีสมรรถนะสอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาประเทศ

ตามแผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ.2560-2579 ของสถานศึกษาสังกัดสถาบัน

การอาชีวศึกษาภาคใต้. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม.

Certo, Samuel C. and Paul, Peter J. (1991). Strategic Management:

Concept and Applications. New York : McGraw-Hill.

Starkey, Paul. (1997). Network for Development. IFRTD (The International

Forum for Rural Transport and Development) London, UK : International.

Burke, Adam. (1999). Communications & Development: A Practical

Guide. London : Social Development Division Department for International Development.

ธนภัทร มั่นคง. (2561). กลยุทธ์การบริหารอาชีวศึกษาเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่-

ลำพูน ตามแนวคิดคุณภาพมาตรฐานสากล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

เพชรโยธิน ราษฎร์เจริญ. (2564). กลยุทธ์การบริหารจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี

แบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิค

ธัญบุรี. วารสาร e-Journal of Education Studies มหาวิทยาลัยบูรพา. 3(3) ; 19-20.

Riley, K. (2015). Changes in local governance –collaboration through

networks: A post-16 Case study. Educational Management and

Administration. 25(2) : 155-167.

ไชยา ประพันธ์ศิริ. (2560). [ออนไลน์] กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วม

เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย สังกัด

สำนักงานคณะกรรมการ. [สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564]. จาก

http://www.stcat.ac.th/data.

เพิ่มศักดิ์ บัวรักษ์. (2558). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการของ

สถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารบริหาร

การศึกษา มศว. 16(30) : 1-5.

จรัส เล่ห์สิงห์. (2561). รูปแบบการสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายความร่วมมือชุมชน

สถานประกอบการ ด้านวิชาการและวิชาชีพ วิทยาลัยเทคนิคสระแก้ว. สระแก้ว :

วิทยาลัยเทคนิคสระแก้ว สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2562.

(2562). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 56 ง : 9 - 11.