รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะอาชีพด้านธุรกิจและบริการ ตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ A MODEL ON OCCUPATIONAL COMPETENCY BASED CURRICULUM DEVELOPMENT IN BUSINESS AND SERVICE BASED ON NATIONAL QUALIFICATIONS FRAMEWORK (THAILAND NQF)

Main Article Content

นิติ นาชิต

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


         การพัฒนารูปแบบการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะอาชีพด้านธุรกิจและบริการตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะอาชีพด้านธุรกิจและบริการตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ดำเนินการวิจัยมี 5 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะอาชีพด้านธุรกิจและบริการตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ, สร้างรูปแบบและคู่มือ, ทดลองใช้, ประเมิน, และ เสนอแนวนโยบาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย คือ แบบบันทึก แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบประเมิน และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล โดยคำนวณหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะอาชีพด้านธุรกิจและบริการตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ พบว่า การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะอาชีพด้านธุรกิจและบริการ เป็นไปตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนระดับฝีมือและยึดโยงกับมาตรฐานอาชีพและความต้องการของงานอาชีพตามระดับคุณวุฒิวิชาชีพ โดยยึดหลักการพัฒนาคนเข้าสู่อาชีพ 2) ผลการสร้างรูปแบบและคู่มือการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะอาชีพด้านธุรกิจและบริการตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ มีรายละเอียดดังนี้ ส่วนนำ ส่วนเนื้อหา และส่วนเงื่อนไขความสำเร็จ และความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิต่อร่างรูปแบบและคู่มือการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะอาชีพด้านธุรกิจและบริการตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3) ผลการนำรูปแบบและคู่มือการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะอาชีพด้านธุรกิจและบริการตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ไปใช้จริง พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความคิดเห็นสูงกว่าคะแนนเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะอาชีพด้านธุรกิจและบริการตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดและผลการประเมินคู่มือการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะอาชีพด้านธุรกิจและบริการตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ พบว่า โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 5) ผลการเสนอแนวนโยบายการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะอาชีพด้านธุรกิจและบริการตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ และการนำไปใช้สู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย 3 ระดับ คือ ระดับสถาบันการอาชีวศึกษาและสถานศึกษา ระดับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และระดับกระทรวง ศึกษาธิการ ซึ่งผลการประเมินในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกระดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 “พลิกโฉมประเทศไทยสู่ สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน”.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เรื่องที่ 7 การวัดและประเมินผลอาชีวศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2565. เอกสารอัดสำเนา. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2564). คู่มือการขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center). สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ.

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน). (2021). https://www.tpqi.go.th/th/qualification

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2553). สมรรถนะวิชาชีพ. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ชนะ กสิภาร์. (2545). “นวัตกรรมการอาชีวศึกษาและฝึกอบรมอาชีพเข้าสู่คุณวุฒิวิชาชีพ (Thai Vocational Qualification-TVQs)”. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 14 (41), มกราคม – มีนาคม, 3-20.

พิสิฐ เมธาภัทร. (2531). การพัฒนาหลักสูตรอาชีวะและเทคนิคศึกษา. (เอกสารคำสอนวิชา 20041

การพัฒนาหลักสูตรอาชีวะและเทคนิคศึกษา). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า

พระนครเหนือ.

สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. (2562). กรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติ เกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิอาชีวศึกษาและระเบียบที่ใช้ในการจัดการศึกษาอาชีวศึกษา.

วิชชาพรรณ กิ่งวัชระพงศ์. (2554). รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรานสมรรถนะ ด้านการโรงแรมและบริการงานบริการส่วนหน้า ตามมาตรฐานอาชีพอุตสาหกรรมการโรงแรม.วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 21(2), 377.

สุรพงษ์ เอิมอุทัย. (2557). การพัฒนารูปแบบการประเมินผู้เรียนแบบอิงฐานสมรรถนะ ตามกรอบมาตรฐานหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปวีณกร แป้นกลัด. (2557). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูวิชาชีพตามรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูวิชาชีพแบบฐานสมรรถนะ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2561). การพัฒนามาตรฐานการผลิตกำลังคนอาชีวศึกษาด้านธุรกิจและบริการ กรณีศึกษาสาขาการโรงแรมและการท่องเที่ยว.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนฐานสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

สุวุฒิ ดุ้มทอง. (2558). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรสายวิชาการตาม มาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพด้านคอมพิวเตอร์ระดับสากล. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). คู่มือการจัดระดับการกำกับดูแลองค์การ ภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance Rating). กรุงเทพฯ : บริษัท พรีเมียร์ โปร จำกัด.