การจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์ Covid-19 สู่มาตรฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย

Main Article Content

นิคม เหลี่ยมจุ้ย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อประเมินผลวิธีการจัดการเรียนการสอนและความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์ (COVID-19) การวิจัย เรื่องการจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์ COVID-19 สู่มาตรฐานชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย ด้วยกระบวนการการจัดการเรียนการสอนใน 3 วิธี ประกอบด้วย 1) การสอนโดยวิธีการสอนแบบปกติ (On-Site) 2) การสอนโดยวิธีสอนแบบออนไลน์ (Online) 3) การสอนโดยวิธีการสอนแบบสลับกลุ่มเรียน (Alternate) ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย มีวัตถุประสงค์ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนโดยใช้วิธีสอนแบบปกติ (On-Site) 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนโดยใช้วิธีสอนออนไลน์ (Online) 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้วิธีสอนสลับกลุ่มเรียน (Alternate) 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู นักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครองในการจัดการเรียนการสอนแบบ New Normal โดยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Research Method) โดยมีกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ 1) ผู้บริหารและครู 2) นักเรียน นักศึกษา 3) ผู้ปกครอง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แบบสำรวจคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของครูผู้สอนภาคเรียนที่ 1/2563 2) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารและครู นักเรียน นักศึกษา และผู้ปกครอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบความพึงพอใจ การจัดการเรียนการสอนแบบ New Normal โดยใช้สถิติทดสอบ t-test


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของการจัดการเรียนการสอนโดยวิธีสอนแบบปกติ (On-Site) แบบออนไลน์ (Online) และแบบสลับกลุ่มเรียน (Alternate) สูงกว่าก่อนเรียน

  2. ความพึงพอใจของนักเรียน นักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนโดยวิธีสอนแบบปกติ (On-Site) แบบออนไลน์ (Online) และแบบสลับกลุ่มเรียน (Alternate) พบว่า นักเรียน นักศึกษา มีความ

พึงพอใจอยู่ในระดับมาก


  1. ความพึงพอใจของผู้บริหาร ครูผู้สอนและผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการเรียนแบบ New Normal ภายใต้สถานการณ์ Covid-19 พบว่าผู้บริหาร ครูผู้สอนและผู้ปกครองมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไกรรัตน์ นิลฉิม และแวฮาซัน แวหะมะ. (2557). ผลการใช้สื่อการสอนด้วยการบันทึกการสอนในห้องเรียนเป็นแบบมัลติมีเดียฝังบนห้องเรียนเสมือนในรายวิชาด้านคอมพิวเตอร์. (ออนไลน์). 7 มิถุนายน 2560. เข้าถึงจาก http://edujournal.psu.ac.thedujn/index.php/edu_jn2015/article/view/74.

จุลศักดิ์ สุขสบาย. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายประถม). (ออนไลน์). 8 มิถุนายน 2560. เข้าถึงจาก : http://ejournals.swu.ac.th/ index.php/jre/issue/view/851.

ปราณี กองจินดา. (2549). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และทักษะการคิดเลขในใจของนักเรียนที่ได้รับการสอนตามรูปแบบซิปปาโดยใช้แบบฝึกที่เน้นทักษะการคิดเลขในใจกับนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้คู่มือครู. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรการสอน). พระนครศรีอยุธยา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. ถ่ายเอกสาร.

พัชรา คงเหมาะ. (2560). แนวทางการพัฒนาห้องเรียนออนไลน์สำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (ออนไลน์). 12 มิถุนายน 2560. สืบค้นจาก : www.research.mutt.ac.th/?p=16207

ภาณุวัฒน์ วรพิทย์เบญจา และคณะ. (2558). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนเสมือนจริงบนอุปกรณ์เคลื่อนที่. (ออนไลน์). 12 มิถุนายน 2560. สืบค้นจาก :www.tci-thaijo.org/index.php/Itech/article/view/49051.

วรวรรณ เพชรอุไร. (2555). ศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ Active learning ในรายวิชา อย 3 4 1 การแปรรูป.(ออนไลน์). 13 มิถุนายน 2560.สืบค้นจาก: www.engineer.mju.ac.th/goverment /..engineer/File20130530100922_19864.pdf

วุฒิภัทร หนูยอด. (2556). ประสิทธิผลของรูปแบบการสอนโดยใช้สื่อการสอนแบบออนไลน์ วิชาการเขียนโปรแกรมเว็บแบบพลวัติ. (ออนไลน์). 13 มิถุนายน 2560. สืบค้นจาก : repository.rmutto.ac.th /xmlui/handle/123456789/133.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวานกราฟฟิก จำกัด.

สุพิชชา ตันติธีระศักดิ์และศิวนิต อรรถวุฒิกุล. (2559). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนแบบ ผสมผสานผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ตามแนวคิดเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาการเขียนโปรแกรม ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (ออนไลน์). 15 มิถุนายน 2560. สืบค้นจาก : https://www.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-EJournal/article/view/75644.

วัฒนพร ระงับทุกข์. (2541). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : เลิฟแอนด์เพรส