การประเมินโครงการสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทานของวิทยาลัยเทคนิคพิจิตร ปีการศึกษา 2564 ASSESSMENT OF VOCATIONAL EDUCATION INSTITUTIONS PROJECT FOR THE ROYAL AWARD OF PHICHIT TECHNICAL COLLEGE, ACADEMIC YEAR 2021
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทานของวิทยาลัย เทคนิคพิจิตร ได้ทำการประเมินโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทานของวิทยาลัยเทคนิคพิจิตร 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นที่ใช้ในการดำเนินโครงการสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทานของวิทยาลัยเทคนิคพิจิตร 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทานของวิทยาลัยเทคนิคพิจิตร 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทานของวิทยาลัยเทคนิคพิจิตร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการประเมิน ผลการดำเนินโครงการ คณะกรรมการดำเนินโครงการ หัวหน้า
แผนกวิชา หัวหน้างาน ครูผู้สอน คณะกรรมการดำเนินงานองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย วิทยาลัยเทคนิคพิจิตรและนักเรียนนักศึกษา วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร จำนวน 601 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถาม จำนวน 5 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้ 1) ด้านบริบทของโครงการ ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกเรื่อง 2) ด้านปัจจัยเบื้องต้นที่ใช้ในการดำเนินโครงการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกเรื่อง 3) ด้านกระบวนการดำเนินโครงการ ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกเรื่อง 4) ด้านผลผลิตของโครงการ วิทยาลัยเทคนิคพิจิตรได้รับรางวัลสถานศึกษารางวัลพระราชทาน ประเภทสถานศึกษาขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2564 และความพึงพอใจของครูผู้สอนและนักเรียนนักศึกษา ในภาพรวมในระดับมาก
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542.
ชัยยุทธ จุลเสวตร์. (2565). การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศทาง
วิชาการ ของโรงเรียนบ้านปากลง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
นครศรีธรรมราช เขต 4. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9 (5), 352-353.
ฐิติพงศ์ แสนอุบล. (2563). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาคุณธรรมต้นแบบวิทยาลัย
การอาชีพวิเชียรบุรี โดยกระบวนการมีส่วนร่วม. วารสารวิชาการ T-VET Journal
สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3. 5(9), 84.
ฤทัยรัตน์ ปัญญาสิม และดวงใจ ชนะสิทธิ์. (2560). การบริหารงานแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผล
ต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9.
วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 9 (1), 305-307.
นิศารัตน์ แสงรี. (2559). การเปรียบเทียบผลการประเมินมาตรฐานการศึกษา ตามเกณฑ์ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ระหว่างโรงเรียนพระราชทานกับโรงเรียนไม่ได้รับรางวัลพระราชทาน, วิทยานิพนธ์ ศษ.ม., มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พรเทพ เหมรานนท์. (2564). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต 1และเขต 2, วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณ.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2561). ความเป็นผู้นำทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3).
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนสิช สิทธิสมบูรณ์. (2564). ชุดฝึกปฏิบัติ การประเมินโครงการ (พิมพ์ครั้งที่ 1).
พระนครศรีอยุทธยา: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เรวัตร แก้วทองมูล. (2563) โครงการสถานศึกษาปลอดภัยของวิทยาลัยเทคนิคเวียงป่าเป่า.
วารสารวิชาการ T-VET Journal สถานบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3. 4(7), 147.
เศรษฐวิชน์ ชโนวรรณ. (2564). การประเมินโครงการทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 1).
กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2564). คู่มือการประเมินสถานศึกษาอาชีวศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทาน.
ไอลดา แถวโพธิ์. (2563). การประเมินโครงการ : โครงการศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดไร่ขิง (สุนทรอุทิศ), การค้นคว้าอิสระ ศษ.ม., มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Hoy, Wayne K. & Furguson, Judith. (1985). Theoretical framework and exploration.Texas: Business Publication.
Stufflebeam, D.L ed.al. (1971). Educational Evaluation and Decision Making. Illinois: F.E. Peacock Publishers.