การพัฒนานวัตกรรมการสอนปัญญาประดิษฐ์สำหรับเยาวชนกลุ่ม จังหวัดเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ นครพนมและมุกดาหาร DEVELOPMENT OF ARTIFICIAL IN TELLIGENCE IN STRUCTIONAL INNOVATION FOR YOUTH INPROVINCES INSPECIAL ECONOMIC DEVELOPMENT ZONE NAKHON PHANOM AND MUKDAHAN

Main Article Content

ธีระพันธ์ พิพัฒน์สุข
ณัฐชนันท์ ปลายเนตร
ปินันทนา สิงห์ยะบุศย์
สิทธิพงศ์ อินทรายุทธ
ศุภชัย ปลายเนตร

บทคัดย่อ

      บทความวิจัยนี้นำเสนอการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการสอนปัญญาประดิษฐ์ วิธีการดำเนินการวิจัยใช้แนวคิดวิธีการออกแบบนวัตกรรมและโมดูลการเรียนรู้ ประกอบด้วย การออกแบบ การวิเคราะห์ การพัฒนา การนำไปใช้ และการประเมินผล ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาในเขตจังหวัดนครพนมและมุกดาหาร จำนวน 200 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง จากนั้นทดลองใช้นวัตกรรมในการอบรม นักเรียนจำนวน 100 คน เพื่อทำการทดสอบและประยุกต์ใช้งานนวัตกรรมที่ได้พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวัดความเชื่อมั่นของเครื่องมือ แบบประเมินความพึงพอใจของนวัตกรรมชุดสาธิต แบบวัดประเมินผลการอบรมปัญญาประดิษฐ์  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าสถิติ Z-test ผลการวิจัยพบว่านวัตกรรมและโมดูลการสอนปัญญาประดิษฐ์ สามารถพัฒนาการความรู้ด้านทักษะปัญญาประดิษฐ์มีผลสัมฤทธิ์ก่อนฝึกและหลังฝึก มีคะแนนเฉลี่ยหลังฝึกมากกว่าก่อนฝึกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

อุราพร ศุขะทัต, (2550). การนำมัลดิเอเจนท์มาใช้ในการปรับสารสนเทศการเรียนตามความสนใจของผู้เรียนในสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนผ่านเว็บ, กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

Nonaka, I. and Takeuchi, H.. (1995). The knowledge creating company: how Japanese companies create the dynamics of innovation, New York: Oxford University Press.

Zhao, X.P., Liu, L. and Zhang, C.Z. (2003). A Multi-Variable Analysis on Factors Influencing Employee’s Turnover Intention. China Soft Science, 3, 71-74

Chakraborty, K., Basu, D., & Kumar, K. V. (2010). Internet addiction: Consensus, controversies, and the way ahead. East Asian Archives of Psychiatry, 20(3),123–132. https://search.informit.org/doi/10.3316/

informit.935942388038735

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:สุวีริยาสาส์น.

Claxton, G., Lucas, B. & Spencer, E. (2012). Making It: Studio teaching and its impact on learners. Winchester: Centre for Real-World Learning

Decker,(2019) A.; McGill, M.M. A systematic review exploring the differences in reported data for pre-college educational activities for computer science, engineering, and other STEM disciplines. Educ. Sci. 9, 69.

Burrows, A.C.; Slater (2015) T.F. A proposed integrated STEM framework for contemporary teacher preparation. Teach. Ed. Pract.,28, 318–330