การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนา ทักษะอาชีพเกษตรกรรม สำหรับผู้เรียนอาชีวศึกษาเกษตร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย THE DEVELOPMENT OF PROJECT -BASED LEARNING MODEL TO DEVELOP AGRICULTURAL SKILLS OF VOCATIONAL EDUCATION IN AGRICULTURAL STUDENTS,SUHHOTHAI COLLEGE OF AGRICULTURE AND TECHNOLOGY
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพเกษตรกรรม สำหรับผู้เรียนอาชีวศึกษาเกษตร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย 2) สร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพเกษตรกรรม สำหรับผู้เรียนอาชีวศึกษาเกษตร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย 3) ทดลองใช้และประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพเกษตรกรรม สำหรับผู้เรียนอาชีวศึกษาเกษตร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย ประชากรที่ใช้ใน การวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาเกษตรกรรม สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาดินและการจัดการดินเพื่อการเกษตร รหัสวิชา 30502 – 2004 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ ความเข้าใจ ในเนื้อหารายวิชาที่เรียน 2) แบบประเมินทักษะอาชีพเกษตรกรรม และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการพัฒนาด้วยรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ประสิทธิภาพของรูปแบบตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 และการทดสอบค่าที (t-test for Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบที่พัฒนาขึ้น เรียกว่า I-CP-DE Model ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านหลักการ 2) องค์ประกอบด้านวัตถุประสงค์ 3) องค์ประกอบด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ และ 4) องค์ประกอบด้านการวัดและประเมินผล โดยขั้นตอนกระบวนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบ มี 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นกำหนดปัญหาและศึกษาข้อมูล (I-Investigation) ขั้นที่ 2 ขั้นสร้างองค์ความรู้หรือโครงงาน (C-Construction) ขั้นที่ 3 ขั้นวางแผนการเรียนรู้ (P-Planning) ขั้นที่ 4 ขั้นปฏิบัติ (D-Doing) และขั้นที่ 5 ขั้นนำเสนอผลงานและประเมินผล (E-Evaluation) 2) ผลการทดลองใช้
รูปแบบ พบว่า 1) ประสิทธิภาพของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ 83.60/83.00 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 18.10 คะแนน และ 33.20 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนน พบว่า คะแนนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น สูงกว่าก่อนใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ทักษะอาชีพเกษตรกรรมของผู้เรียนหลังใช้รูปแบบ มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบ พบว่า ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงาน เป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพเกษตรกรรม สำหรับผู้เรียนอาชีวศึกษาเกษตร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
ลัคนา วัฒนาชีวะกุล. (2561). เทคนิคการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน
(Project-based learning). [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2563]. จาก
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=818.
หน่วยศึกษานิเทศก์. (2556). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน (Project-
based Learning: PBL). นครปฐม : สินทวีกิจ พริ้นติ้ง.
วัชรินทร์ โพธิ์เงิน. (2561). การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน. [ออนไลน์].
[สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2563]. จาก : http://www.fte.kmutnb.ac.th/km/
project-based%20learning.pdf.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2553). แผนการจัดการเรียนรู้บูรณาการ. กรุงเทพฯ : ชุมนุม
สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
วัฒนา มัคคสมัน. (2554). การสอนแบบโครงการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทองพูน คุณเลิศเกษม. (2563). ทักษะวิชาชีพเกษตร. [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อวันที่ 10
กันยายน 2563]. จาก https://sites.google com/a/lcat.ac.th/tongpoon/
wicha-thaksa-wichachiph- kestr.
Tolbert. (1974). Conselling for Career Development. Boston : Houghton Mifflin.
Davies, I.K. (1971). The Management of learning. London : MaGraw-hill.
พลตรี สังข์ศรี. (2562). รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานวิชาโครงการ
สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วารสารวิชาการ T-VET Journal
สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3. 3(5): 108-129.
พัชราภรณ์ ฉันทหรรษา. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเกษตร โดยจัด
การเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาร่วมกับโครงงานเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยม
ศึกษาตอนปลาย. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 19(3) : 32-33.
สำนักงานเลขาธิการสภาศึกษา. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน. กรุงเทพฯ :
กลุ่มส่งเสริมนวัตกรรมการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษา.
ลัดดา ภู่เกียรติ. (2555). การสอนแบบโครงงานและการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน :
งานที่ครูประถมทำได้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิชิต อ้วนไตร. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานแบบ
DAPOA สำหรับการศึกษาด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม. การประชุมวิชาการครุศาสตร์
อุตสาหกรรมระดับชาติครั้งที่ 8. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ทิศนา แขมมณี. (2556). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย.
กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.
Keeves, J.P. (1988). Educational research, Methodology and measurement
: An international Handbook. Oxford : Pergamon.
เสน่ห์ เทศนา. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกษตรกรรมเป็นฐาน
เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพเกษตรกรรม ของนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตชนบท
ภาคเหนือ ตอนล่าง. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
Hargrave, O. S. (2004). Project-Based Learning in the classroom. M.A.E.
Dissertation Pacific Lutheran University.
รัตนศรี พรหมใจรักษ์. (2555). การพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ
โดยใช้กิจกรรม ค่ายการงานอาชีพและเทคโนโลยี. ขอนแก่น : มหาวิทยาขอนแก่น.
สุคนธ์ สินธพานนท์ และ จินตนา วีรเกียรติสุนทร. (2556). การจัดการเรียนรู้ของครู
ยุคใหม่สู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ : 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
อัจฉรา ธนีเพียร. (2559). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน (Project-based Learning : PBL)
วิชาการสร้างสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรม
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.