รูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนอาชีวศึกษา ที่พึงประสงค์ในบริบทที่เปลี่ยนแปลง วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก -

Main Article Content

Patima Phuttaldong

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ  


            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ในบริบทที่เปลี่ยนแปลง วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก 2) สร้างรูปแบบ 3) ทดลองใช้รูปแบบ และ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน ครูผู้สอน จำนวน 49 คน รวม 53 คน และกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เรียน จำนวน 140 คน การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ผู้แทนผู้ปกครอง/ชุมชน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบรายงาน แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ประสิทธิภาพของรูปแบบตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 และการทดสอบค่าที (t-test for Dependent)  


                    ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ในบริบทที่เปลี่ยนแปลง วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และแนวทางการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ในบริบทที่เปลี่ยนแปลง วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลกพบว่า 1) ควรมีการกำหนดเป้าหมายและนโยบายเชิงรุกเพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนอาชีวศึกษาที่พึงประสงค์ในบริบทที่เปลี่ยนแปลง 2) ควรมีคณะกรรมการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่โดยการมีส่วนร่วมที่หลากหลาย 3) กระบวนการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่ควรดำเนินการอย่างเป็นระบบ และ 4) ควรมีการติดตามและประเมินผลการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่ 2. รูปแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) กำหนดเป้าหมายและนโยบายเชิงรุก 2)  คณะกรรมการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่ 3) กระบวนการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่ 4) การติดตามและประเมินผลการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่ และประกอบด้วย 4 เงื่อนไขความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่ 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า ความสำเร็จและความพึงพอใจที่มีต่อโครงการสำหรับใช้รูปแบบ ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 4. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบ พบว่า 1) จำนวนระบบการปฏิบัติงานแนวใหม่ที่สถานศึกษาพัฒนาขึ้นโดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และโครงการบริหารด้านนวัตกรรมและงานสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนที่พึงประสงค์ในบริบทที่เปลี่ยนแปลง เพิ่มขึ้น 13 รายการ 2) ผู้เรียนมีสมรรถนะตามกรอบคุณวุฒิอาชีวศึกษาแห่งชาติและคุณลักษณะใหม่ที่แสดงถึงการเป็นผู้มีความสามารถในการปรับตัวในบริบทที่เปลี่ยนแปลง ด้านคุณธรรม จริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด สมรรถนะผู้เรียนด้านความรู้และด้านทักษะ พบว่า หมวดวิชาชีพเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 11.67 และหมวดวิชาพื้นฐานประยุกต์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 14.12 และด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้และความรับผิดชอบ อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษามีงานทำในสถานประกอบการและที่ประกอบอาชีพอิสระ ร้อยละ 57.21 4) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่ อยู่ในระดับมากที่สุด และ 5) ความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบ อยู่ในระดับมาก  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

สุพริศร์ สุวรรณิก. (2564). โลกจะเปลี่ยนไปอย่างไรหลังโควิด-19 จบลง?. (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/aticle

/Page/Areticle_30Mar2020.aspx 10 เมษายน 2564.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจ

การบริหาร และการ จัดการศึกษาให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงกำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษา พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ: ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

เสาวรัจ รัตนคำฟู. (2563). วิกฤตโควิด-19 รัฐต้องเร่งลดช่องว่างดิจิทัล เพื่อความ

เท่าเทียมในห้องเรียนออนไลน์. (ออนไลน์) สืบค้นจาก 1 พฤษภาคม 2563จาก https://tdri.or.th/2020/04/digital-educationine qualities/.

ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2560). อาชีวศึกษากับประเทศไทย 4.0. วารสารอาชีวะก้าวไกล.

(2) : 8-9.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2564). ประกาศคณะกรรมการการ

อาชีวศึกษา เรื่อง แนวทางการจัดการเรียนรู้อาชีวศึกษาในสถานการณ์การ

แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สำนักงาน

คณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

จันทรานี สงวนนาม. (2555). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา.

(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.

นิวัตต์ น้อยมณี. (2562). คุณลักษณะผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วม

ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

ฉะเชิงเทรา เขต 2. E-Journal of Education Studies, Burapha

University. 1(5): 35-50.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). ภาระหน้าที่การบริหารงานในโรงเรียน 4 ฝ่าย.

กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

ภูษิมา ภิญโญสินวัฒน์. (2564). จัดการเรียนการสอนอย่างไรในสถานการณ์โควิด-19:

จากบทเรียนต่างประเทศสู่การจัดการเรียนรู้ของไทย. (ออนไลน์) สืบค้นจาก

https://tdri.or.th/2020/05/examples-of-teaching-and-learning-in-

covid-19-pandemic/

รังสรรค์ พรมมา. (2563). แนวทางการบริหารสำหรับการจัดการศึกษาในวิถีการ

เรียนรู้ใหม่ ( New Normal )ในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 3. (ออนไลน์). สืบค้นจาก:

http://edu.crru.ac.th/articles/029.pdf. 9 พฤษภาคม 2564.

นพดล พลเยี่ยม. (2563). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาคุณภาพ

ผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต1.

วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ท.

ศิริเดช คำสุพรหม. (2563). (ออนไลน์). CIBA มธบ. เผยการเรียนการสอนระบบออนไลน์ฉลุย เหตุเด็กเก่งเทคโนโลยี. สืบค้นจาก : http://edu.crru.ac.th/ articles/029.pdf. 14 ตุลาคม 2563.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒนผล. (2563). ฐานวิถีชีวิตใหม่ทางการเรียนรู้.

กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รังสรรค์ พรมมา. (2563). แนวทางการบริหารสำหรับการจัดการศึกษาในวิถีการ

เรียนรู้ใหม่ (New Normal)ในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษาประถมศึกษา เชียงใหม่ เขต 3. (ออนไลน์). สืบค้นจาก :

http://edu.crru.ac.th/articles/029.pdf. 9 พฤษภาคม 2564.

Force, T., & Unesco,. (2020). BACK TO SCHOOL ในยุค NEW NORMAL.

สืบค้นจาก https://www.educathai.com/knowledge/articles/fbclid.

Keeves, J.P. (1988). Educational research, Methodology and

measurement : An international Handbook. Oxford : Pergamon.

อัจฉรา นิยมาภา. (2564). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่สู่คุณภาพการศึกษา

ที่พึงประสงค์ในบริบทที่เปลี่ยนแปลง. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 14(2): 178-179.

Strickland, B. F. (2006). A study of factor affecting administrative unit of

North California. Dissertation Abstracts International. 23(12):

-4599.

นิมิตร อาศัย. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการอาชีวศึกษาเกษตรยุคใหม่ (Smart

Agricultural College) เพื่อขับเคลื่อนคุณภาพผู้เรียนวิทยาลัยเกษตรและ

เทคโนโลยีสุโขทัย. วารสารวิชาการ T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3. 5(9): 122-137.

ไพศาล สุวรรณน้อย. (2563). ยุคฐานวิถีชีวิตใหม่. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์.

กนกวรรณ โพธิ์ทอง. (2563). แนวทางการจัดการเรียนรู้รูปแบบวิถีใหม่

(New Normal) ที่มีประสิทธิภาพของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1. (ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://kpi-

lib.com/library/en/books/kpibook-27950/. 14 กรกฎาคม 2563.