ปัจจัยในการจัดตั้งศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา: กรณีศึกษาวิทยาลัยเทคนิคนครนายก FACTORS AFFECTING CENTER OF VOCATIONAL MANPOWER NETWORKING FMANAGEMENT CASE STUDY TO NAKHON NAYOK TECHNICAL COLLEGE.
Main Article Content
บทคัดย่อ
ทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการจัดตั้งศูนย์บริหารเครือข่ายและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาสถานศึกษาเป็นศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน และครูประจำแผนกวิชาอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 2 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ ด้วยวิธีการวิเคราะห์แก่นสาระ
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยในการตั้งศูนย์ ประกอบด้วย 9 ด้าน คือ 1) ความร่วมมือ กับสถานประกอบการ 2) ครูวิชาชีพมีความเป็นเลิศ 3) โครงสร้างพื้นฐานและสภาพ
แวดล้อมทางการศึกษา 4) การผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา 5) การประกันคุณภาพการศึกษา 6) การมีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา 7) การพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับมาตรฐานอาชีพ 8) บริบททางการศึกษาและบริบทเชิงพื้นที่ 9) การเสริมสร้างให้ผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษา มีสมรรถนะและคุณลักษณะตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายมี 4 ประเด็น คือ 1) การยกระดับความร่วมมือ 2) การพัฒนาครูให้มีความเชี่ยวชาญ 3)การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 4) การพัฒนาหลักสูตรร่วมกับสถานประกอบการ
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2565).นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2565-2566. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ
สมพร ปานดำ.(2564).พัฒนาทักษะ เพิ่มทักษะและสร้างทักษะใหม่สิ่งสำคัญของคนอาชีวศึกษาในโลกยุคปกติใหม่.วารสารวิชาการ T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3
คุณัชญา ทิพยานุรักษ์สกุล และพิชญาพา ยวงสร้อย. (2565).นวัตกรรมการบริหาร สถานศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ในยุค Next Normal.วารสารวิชาการ T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3.
สำนักงานคณะกรรรมการการอาชีวศึกษา. (2565). แนวทางการขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellent Center) ปีงบประมาณ 2564.
กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรรมการการอาชีวศึกษา.
จีรพัส บทมาตย์ .(2563).การวิจัยเส้นทางนวัตกรรมการศึกษาและการสอนในวิทยาลัยอาชีวศึกษาชั้นสูงในยุคใหม่.วารสารวิชาการ T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3.
สำนักงานสภานโนบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ.
(2563).สมรรถนะบุคลากรในอนาคตสำหรับ 12 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (พ.ศ.2563-2567).กรุงเทพมหานคร:กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม.
ปรีดี เกตุทอง. (2556). การพัฒนารูปแบบการจัดการความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถาน ประกอบการในการจัดการอาชีวศึกษาประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในกลุ่ม จังหวัดสามเหลี่ยมอันดามัน. ใน ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา ศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมพร ปานดำ. (2563). การพัฒนาความร่วมมือกับภาคประกอบการในการจัดการ อาชีวศึกษาเชิงรุก ประเภทวิชาอุตสาหกรรม.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์
สุเมธ รินทลึก,วิชิต แสงสว่าง. (2564). การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสู่ความเป็นเลิศในสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา.วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์.
สุระชัย ลาพิมพ์. (2563). การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีสู่ความเป็นเลิศ ของ วิทยาลัยสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดอุดรธานี. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ ฉบับออนไลน์
สาโรจน์ ขอจ่วนเตี๋ยว. (2562). กลยุทธ์การบริหารงานประกันคุณภาพของวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. ใน เอกสารวิชาการ. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
รมย์นลิน ศรีสายหยุด. (2565).รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3. ใน ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
สุรพงษ์ เอิมอุทัย.(2564).แนวทางพัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษา ประจำปี พ.ศ.2565 เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาเพื่ออาชีพและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ.วารสารวิชาการ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้.