The The participation of educational institutions and establishments of food and nutrition in the administration of vocational education in the dual system of affiliated institutions Institute of Vocational Education: Bangkok การมีส่วนร่วมของสถานศึกษากับสถานประกอบการของสาขาอาหารและโภชนาการ ในการบริหารงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยในสังกัด สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อาระยา ฉายชูวงษ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของสถานศึกษากับสถานประกอบการในการบริหารงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานครและเพื่อศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของสถานศึกษากับสถานประกอบการในการบริหารงาน อาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร  กลุ่มตัวอย่างคือ  ผู้อำนวยการวิทยาลัย 2 คน  รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ 2 คน  หัวหน้างานทวิภาคี 2 คน และครูฝึกในสถานประกอบการ 2 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของสถานศึกษากับสถานประกอบการของสาขาอาหารและโภชนาการ ในการบริหารงานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัย    ในสังกัด สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร  ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ 1.ด้านการมีส่วนร่วมของสถานศึกษากับสถานประกอบการในการบริหารงาน อาชีวศึกษาระบบ    ทวิภาคี 2.การมีส่วนร่วมอบรมพัฒนาบุคลากรร่วมกัน 3.การมีส่วนร่วมในการนิเทศนักเรียน นักศึกษา 4.การมีส่วนร่วมในเชิงทัศนคติ 5.ด้านนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์     


  1. ด้านแหล่งเรียนรู้ และข้อเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของสถานศึกษากับสถานประกอบการในการบริหารงาน อาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของวิทยาลัยในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร ได้ 7 ด้าน 1. ด้านการจัดอบรมครูฝึกในสถานประกอบการ 2. ด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาครู 3. ด้านบุคลากรเข้าฝึกอาชีพ  4. ด้านการเตรียมความพร้อมก่อนออกฝึกงาน 5. ด้านการทำงาน 6. ด้านทักษะของครูฝึก 7. ด้านการทำแผนการฝึกร่วมกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565).นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2565-2566. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ

คมสัน รักกุศล. (2560). ปัจจัยที่สนับสนุนการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาอาชีวศึกษาในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี(พ.ศ. 2561-2580).

ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการ

เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

บุญลือ ทองเกตุแก้ว. (2559). รายงานการศึกษาส่วนบุคคลเรื่องการบริหารการ

จัดการอาชีวศึกษา ระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในสถาบันการอาชีวศึกษา

ภาคกลาง 3. สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา สำนักงาน

ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

เรวัช ศรีแสงอ่อน. (2564). รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อ

ขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี. ลพบุรี :

วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร. (2566).ความเป็นมาของสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร.สืบค้นเมือวันที่ 29 มกราคม 2566, ได้จาก www.iveb.ac.th/th/about_us/history

สุรพงษ์ เอิมอุทัย. (2564).แนวทางพัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษา ประจำปี พ.ศ.2565 เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายการศึกษาเพื่ออาชีพและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ.วารสารวิชาการ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้.

สุระชัย ลาพิมพ์. (2563). การพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีสู่ความเป็นเลิศ ของ วิทยาลัยสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดอุดรธานี. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ ฉบับออนไลน์.

สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เรื่องที่ 8 การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี.กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ

สุเมธ รินทลึก,วิชิต แสงสว่าง. (2564). การจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสู่ความเป็นเลิศในสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทรา.วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์.

โอภาส สุขหวาน. (2561). การพัฒนารูปแบบการสอนงานนักศึกษาอาชีวศึกษา

ระบบทวิภาคีประเภทวิชาอุตสาหกรรม สำหรับครูฝึกในสถานประกอบการ.

ปริญญานิพนธ์ ดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารและการจัดการการศึกษา

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Gray, B. (1989). Collaborating: Finding common ground for multiparty

problems. Sanfrancisco: Jossey-Bass.