การศึกษาสภาพปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาการเรียนการสอนออนไลน์ สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนเอกชน

Main Article Content

คุณัชญา ทิพยานุรักษ์สกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย  กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 400 คน ครูผู้สอนในระดับประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาจากข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ จากการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ได้จากแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาการเรียนการสอนออนไลน์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.58; S.D. = .13) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก เรียงลำดับ ดังนี้ ด้านอุปกรณ์สื่อเทคโนโลยี ( = 3.57; S.D. = .39) ด้านผู้สอน ( = 3.61; S.D. = .20) และด้านสภาพแวดล้อมในการเรียน ( = 3.78;    S.D. = .18) อยู่ในระดับมาก ด้านการจัดการเรียนรู้ ( = 3.45; S.D. = .20) และด้านผู้เรียนอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.50; S.D. = .33) ตามลำดับ 2) ความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาการเรียนการสอนออนไลน์สำหรับครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนเอกชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.70; S.D. = .17) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก เรียงลำดับดังนี้ ด้านผู้สอน ( = 3.90; S.D. = .06) ด้านสภาพแวดล้อมในการเรียน( = 3.80; S.D. = .54) ด้านอุปกรณ์สื่อเทคโนโลยี ( = 3.73; S.D. = .29) ด้านการจัดการเรียนรู้ อยู่ในลำดับมาก ( = 3.61; S.D. = .22) และด้านผู้เรียนอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.47;    S.D. = .15) ตามลำดับ 3) แนวทางการแก้ปัญหาการเรียนการสอนออนไลน์ ได้แก่ การสนับสนุนในเรื่องของระบบสัญญาณอินเตอร์เน็ต การใช้อุปกรณ์ เทคโนโลยี การจัดสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายมาก รวมถึงควรมีการใช้สื่อการเรียนการสอนที่หลากหลาย แปลกใหม่ ทันสมัย เทคนิคการสอนใหม่ๆ การสอนแบบสนุกสนาน มีเกมส์ กิจกรรมคลายเคลียด ถือเป็นแนวทางช่วยให้การเรียนการสอนออนไลน์มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)

พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล. (2564). โควิด-19 ดันคนไทยใช้เน็ต ทุบสถิติวันละ 12 ชั่วโมง Gen Z ใช้เน็ตสูงสุดปีแรก. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2565 จาก https://www.thansettakij.com/tech/506786.

ฐานิตา วงศ์ประเสริฐ. (2563). เคล็ด(ไม่)ลับสำหรับผู้ปกครองเพื่อสนับสนุนการเรียนออนไลน์ของเด็กๆ รับมือกับความท้าทายบทใหม่ในสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ไม่เหมือนเดิม. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2565 จาก https://www.unicef.org/thailand/th

เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19. คุรุสภาวิทยาจารย์ 1(2), 1 – 10.

ธีรศักดิ์ อรุณวัชรพันธ์. (2561). การศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต(ทล.บ.)สายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3, 2(3), 15-28.

บุญชม ศรีสะอาด. (2532). วิธีการทางสถิติสำหรับนักวิจัย เล่ม 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เจริญผล.

บุญทิพย์ สิริธรังศรี. (2563, กรกฎาคม). การจัดการเรียนการสอนออนไลน์สู่กรอบมาตรฐานวิชาชีพการสอน และสนับสนุนการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา. The Journal of Chulabhorn Royal Academy, 2(3), 1-17.

เบญจรัตน์ นุชนาฏ์.(2012). พัฒนาการของเด็กวัยเรียน 6 – 12 ปี สืบค้นเมื่อวันที่ 4 ต.ค. 2565

จาก http://www.gotoknow.org/posts/305008

พชร ลิ่มรัตนมงคลและ จิรัชฒา วิเชียรปัญญา. (2556). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการเรียนออนไลน์ของ ผู้เรียนโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย. รังสิตสารสนเทศ, 19(2)

พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2563). เรียน “ออนไลน์” กับการปิด-เปิดโรงเรียนในช่วงโควิด-19. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ก.ย.

จาก https://www.posttoday.com/finance-stock/columnist/621935

พัชชา รวยจินดา. (2020). การเปรียบเทียบเจตคติที่มีต่อการเรียนออนไลน์รูปแบบวิดีโอและถ่ายทอดสดของ

นักศึกษาแพทย์ปี 4 ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์

ทางการศึกษา OJED 15(2), 1 – 12.

พงษ์ศักดิ์ บุญภักดี (2563). การประเมินการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์บนฐานวิถีชีวิตใหม่สาหรับนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิสุโขทัย. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3, 4(8), 39-54.

นิตยา มณีวงศ์. (2021). ศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยความสำเร็จการเรียนออนไลน์ แอปพลิเคชันไลน์ ในช่วงวิกฤต COVID 19. ครุศาสตร์สาร, 15(1), 161-173.

ยง ภู่วรวรรณ. (2563). ผลกระทบทางด้านการศึกษา สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ก.ย. 2565 จาก

https://learningcovid.ku.ac.th/course/?c=7&l=4

รินทร์ณฐา บวรวัชรเศรษฐ์. (2021). การศึกษาการจัดการเรียนการสอนช่วงสถานการณ์ COVID-19 สำหรับนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ. 10(2), 121 – 135.

วิทยา วาโย. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาด ของไวรัส COVID-19 :

แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 14(34), 285 – 298.

สิริพร อินทสนธิ (2563). โควิด - 19 : กับการเรียนการสอนออนไลน์ กรณีศึกษา รายวิชาการเขียน โปรแกรมเว็บ (COVID - 19 and Online Teaching case study: Web Programming Course). วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2563)

สุขนิษฐ์ สังขสูตร. (2564). การศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์การระบาด ของโรคติดเชื้อโควิด-19 ของมหาวิทยาลัยรังสิต. เอกสารงานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจําปี ๒๕๖๔, 1 – 12.

สุวรรณา เพ็งเที่ยง. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนออนไลน์ในสถาณการณ์วิกฤต COVID-19 วิชาการออกแบบและเทคโนโลยี3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหอวัง ปทุมธานี. งานวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา กลุ่มบริหารวิชาการโรงเรียนหอวัง ปทุมธาน. 1 – 10.

อัมรินทร์ (2020). 3 ข้อดี โรงเรียนรัฐบาล vs โรงเรียนเอกชน ต่างกันอย่างไร. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2565

จาก https://www.amarinbabyandkids.com/school/thai-government-school/.

อรรวินท์ วรประวัติ. (2564). สภาพความเป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาเอกชนสังกัดสำนักงาน

คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. การศึกษาค้นคว้าอิสระ,

หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Lorico DS. Lapitan Jr., Cristina E. Tiangco, Divine Angela G. Sumalinog, Noel S. Sabarillo, and Joey Mark Diaz (2564). An effective blended online teaching 15 And learning strategy during the COVID-19 pandemic, Education for Chemica Engineers. 2021 Apr; 35: 116–131.

Lubna Salamat, Gulzar Ahmad, Mohammad Iftikhar Bakht, Imran Latif Saifi (2561). EFFECTS OF E–LEARNING ON STUDENTS’ ACADEMIC LEARNING AT UNIVERSITY LEVEL, Asian Innovative Journal of Social Sciences & Humanities (AIJSSH), Vol. 2 No. 2, April 2018.