ผลการทดลองการฝึกอบรมระยะสั้นโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพ สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษที่เรียนร่วมกับวิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก

Main Article Content

kitti kuttannan

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องผลการฝึกอบรมระยะสั้นโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษพิเศษที่เรียนร่วมกับวิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก เพื่อทดลองใช้การฝึกอบรมระยะสั้น  เพื่อศึกษาทักษะที่ได้จากการฝึกอบรม และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่เข้ารับ การฝึกอบรมระยะสั้นโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพ สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษที่เรียนร่วมกับวิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก       ลักษณะงานวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งผู้วิจัยมีวิธีดำเนินงานแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้  ขั้นตอนที่ 1  สำรวจข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2  ทดลองใช้การฝึกอบรม ขั้นตอนที่ 3  ศึกษาสมรรถนะที่ได้จากการฝึกอบรม และขั้นตอนที่ 4   ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนของผู้เข้ารับการฝึกอบรมระยะสั้นโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษที่เรียนร่วมกับวิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก   กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบเจาะจงนักเรียนโรงเรียนวัดยาง (มีนะวิทยา)  จำนวน 19 คนที่สมัครเข้าเรียนหลักสูตรระยะสั้นกับวิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก เรื่องงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปงานกราฟฟิก โดยมีนักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษจำนวน 7  คนร่วมกับนักเรียนปกติจำนวน 12 คนผลการทดลอง พบว่านักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษมีผลการเรียนระดับ 2 จำนวน  2 คน ผลการเรียนระดับ 2.5 จำนวน 4 คนและผลการเรียนเท่ากับ  3.5  จำนวน 1 คน ผลการประเมินทักษะที่ได้จากการฝึกอบรมระยะสั้นโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพ นักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษที่เรียนร่วมกับวิทยาลัยสารพัดช่างพิษณุโลก  มีผลการเรียนในระหว่าง 37-47  จากคะแนนเต็ม 60 คิดเป็นร้อยละ 62-78 และสำรวจความพึงพอใจของนักเรียนที่เข้ารับการอบรมพบว่าภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =  4.46 , S.D. = 0.60) จากผลดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพ และความพึงพอใจของการฝึกอบรมระยะสั้นโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพ นักเรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษที่เรียนร่วมกับวิทยาลัยสารพัดช่างสามารถเรียนรวมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การจัดการเรียนรู้โดยใช้ ICT เป็นฐาน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จากhttps://www.gotoknow.org/posts.

การจัดการเรียนรู้โดยใช้ ICT เป็นฐาน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/ hxngnithessnlek/kar-sxn-doy-chi-ict-1.

การจัดการเรียนรู้โดยใช้ ICT เป็นฐาน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก http://journal.oas.psu.ac.th /index.php/asj/article/viewFile/221/168.

เทคโนโลยีที่ใช้สร้างอาชีพสู่คนพิการ, การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนาคุณภาพชีวิตสร้างอาชีพของเด็ก

พิเศษ

กระทรวงศึกษาธิการ, กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พ.ศ. 2552.

วัชรี บูรณสิงห์. 2544. การบริหารหลักสูตร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร .มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

การประถมศึกษากรุงเทพมหานคร, คู่มือการเรียนร่วมระดับประถมศึกษาเล่มที่ 1 สำหรับผู้บริหารโรงเรียน.

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สยามรัฐ,2531.)

ภูมิพัฒน์ วนพิพัฒนพงศ์,วารสารวิชาการสถาบันอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 ปีที่ 5 ฉบับที่ 10,2564.

ชัยยศ ดำรงกิจโกศล,วารสารวิชาการสถาบันอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 ปีที่ 4 ฉบับที่ 8,2563.

พัฒน ภาสบุตร ,การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลพิการ, เอกสารการสอนชุดวิชาการดูแล,

บุคคลพิการ หน่วยที่ 11 หน้า ร99-629 นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ (2531 , 583)

ศรินธร วิทยะสิรินันท์, การพัฒนารูปแบบ การจัดการเรียนการสอน แบบเรียนร่วมสำหรับเด็กพิการ ก่อนวัยเรียน . จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/กรุงเทพฯ,2539.)

สุมาลี ศรีผง.รูปแบบการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในสถานศึกษาในสังกัด คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

ล้วน สายยศและอังคณา สายยศ. 2543. เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3.สุวีริยาสาส์น, 2538.