การศึกษาทัศนคติของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1 THE STUDY ON THE ATTITUDE OF BACHELOR’S DEGREE STUDENTS WITH LEARNING ENVIRONMENT OF INSTITUTE OF VOCATIONAL EDUCATION: CENTRAL REGION 1

Main Article Content

นนทพงศ์ ยอดทอง
นวลปรางค์ ภาคสาร
บุญเรือน เอกสนธิ์
ขวัญดาว ศิริแพทย์
สมชาติ บุญศรี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง1 และ2) เปรียบเทียบทัศนคติของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1 จำแนกตามชั้นปี และสาขาวิชา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา จำนวน 143 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถาม มีค่าความตรงเท่ากับ 0.60-1.00 และค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.971 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยสองกลุ่มที่เป็นอิสระ การวิเคราะห์ความแปรปรวน และเปรียบเทียบค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (LSD) ผลการวิจัยพบว่า 1) ทัศนคติของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ สภาพแวดล้อมด้านการจัดการเรียนการสอน รองลงมา คือ สภาพแวดล้อมด้านอาจารย์ผู้สอน ข้อที่ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การบริการนักศึกษา 2) ทัศนคติที่มีต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียน จำแนกตามสาขาวิชาพบว่าระดับทัศนคติของนักศึกษา โดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านอาคารสถานที่ ด้านกิจกรรมนักศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่สถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Astin, A.W. 1971. The college environment. New York : America Council on Education. 308-316)

Harold, W. 1964. Personality Change Student. New York : Nevitt Standford.

สิวราช อินตะวิชัย. 2563. การศึกษาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของโรงเรียน สังกัดสำนังานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พัชราภรณ์ โพธิสัย. 2558. สภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านนาคำนาใน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพึงกาฬ. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

จริยา กล้ารบ. 2556. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียน โรงเรียนบ้านมาบตาพุด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาระของ เขต 1. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

นันทพัทธ์ โนนศรีเมือง และ อำภาศรี พ่อค้า. (2558) ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางการศึกษากับแรงจูงใจในการเรียน ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 5(1), 63-70.

ประวีณา โภควณิช. 2559. แนวทางการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับ

สถานศึกษาเรียนรวมระดับประถมศึกษา จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.

ศุภชัย หมอยาดี. 2558. การศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนบ้านมาบประชัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิศารัตน์ พรหมบุตร. 2555. ศึกษาสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 2 (มูลนิธิได้ล้ง-เช็ง พระประภา) สังกัดเทศบาลนครแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.