การพัฒนาทักษะการเขียนโค้ดเครื่องจักรกลอัตโนมัติ CNC โดยใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยโครงงานเป็นฐาน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี THE DEVELOPMENT OF PROGRAMMING SKILLS ON CNC MILLING MACHINE BY USING A SET OF LEARNING ACTIVITIES WITH PROJECT-BASED FOR UNDERGRADUATE STUDENTS

Main Article Content

สุรเชษฐ์ อรัญนุมาศ
เมธา อึ่งทอง
น่านน้ำ บัวคล้าย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิของชุดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยโครงงานเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนโค้ดเครื่องจักรกลอัตโนมัติ CNC         และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยโครงงานเป็นฐาน เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนโค้ดเครื่องจักรกลอัตโนมัติ CNC กับเกณฑ์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาปีที่1 สาขาวิศวกรรมการผลิตและอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 30 คน ใช้วิธีการ สุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือในงานวิจัย คือ 1) ชุดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ด้วยโครงงานเป็นฐาน 2) แบบประเมินความเหมาะสมของชุดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.70-1.00   3) แบบวัดทักษะการเขียนโค้ดเครื่องจักรกลอัตโนมัติ หาค่าความยากของงานมีค่าอยู่ที่ 0.83-0.95 และอำนาจจำแนกมีค่าอยู่ที่ 0.68-0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และ One Sample t-test


ผลการวิจัย พบว่า ชุดกิจกรรมการเขียนโค้ดเครื่องจักรกลอัตโนมัติ CNC ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ MIAP ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ด้วยโครงงานเป็นฐาน  มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D.= 0.18) ประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเขียนโค้ดเครื่องจักรกลอัตโนมัติ CNC มีประสิทธิภาพ (E1=84.58, E2=87.78) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 3) นักศึกษาคณะ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสู่งกว่าเกณฑ์ กำหนด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

สุนทร วีระเดชลิกุล. (2560). การสร้างเครื่องต้นแบบ เครื่องกัดซีเอ็นซี แบบพาราแรล คิเนเมติก. วารสารอาชีวศึกษาภาคกลาง, 1(1), 38

ธเนศ รัตนวิไล สมชาย ชูโฉม และ วิษณุ รัตนะ. (2554). การพัฒนาเซลล์การผลิตอัตโนมัติ : กรณีศึกษาเครื่องกัดซีเอ็นซีและหุ่นยนต์อุตสาหกรรม. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 21 (3), 549.

ศักดิ์ชัย ศรีมากรณ. (2554). การพัฒนาโปรแกรมสำหรับเครื่องซีเอ็นซีขนาดเล็กด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์. วารสารคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 4(1), 49.

ประภัสสร วงษ์ดี. (2562). รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการท าวิจัยในชั้นเรียนของนักศึกษาครูสาขาช่างอุตสาหกรรม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(1), 112-113

ปิ่นทอง วิหารธรรม และพงศธนัช แซจู. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานร่วมกับห้องเรียนกลับทางเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ในการออกแบบสิ่งของเครื่องใช้ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยขอนแกน, 11(2), 166-167.

พีรพงศ์ เพชรจันทร์ น่านน้ำ บัวคล้าย สืบศักดิ์ สุ่มอิ่ม และเมธา อึ่งทอง. (2566). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องวัสดุก่อสร้าง โดยใช้บอร์ดเกมร่วมกับกระบวนการเรียนรู้เเบบ MIAP เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 22(3), 2-5

จีระศักดิ์ จิตรโรจนรักษ์ สุชาติ อิ่มสำราญ และณัชชา เจริญชนะกิจ. (2566). ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการสานสำหรับนิสิตระดับอุดมศึกษ. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 18(3), 39-40.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.

เมธา อึ่งทอง และผดุงชัย ภู่พัฒน์. (2563). การวัดและประเมินผลทางการศึกษา. ศูนย์ผลิตตำราเรียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สนิท ขวัญเมือง. (2564). ชุดฝึกโปรแกรมเมเบิลลอจิกคอนโทรลเลอร์, วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 20(3), 81-84.

ภูมิพัฒน์ วนพิพัฒน์พงศ์ สุภาณี เส็งศรี สุภาณี เส็งศรี และกอบสุข คงมนัส (2564). การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning: PjBL) โดยการใช้ไอซีทีเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาระดับชั้น ปวส.1 สาขาเทคโนโลยีธุรกิจดิจิทัล วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการ T-VET Journal สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3, 5(9), 167-169.