การสร้างและหาประสิทธิภาพกล่องเก็บพลังงานอเนกประสงค์ CREATION AND EFFICIENCY OF MULTIPUF ENERGY STORAGE BOX

Main Article Content

อุเทน โปยขุนทด
ชนะ แตงคง
วราพร หนูเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างกล่องเก็บพลังงานอเนกประสงค์  2) หาประสิทธิภาพของกล่องเก็บพลังงานอเนกประสงค์ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งาน ในการหาประสิทธิภาพนั้น มีการประเมินโดยผู้มีประสบการณ์และผู้เชี่ยวชาญ ทั้ง 5 ท่าน โดยการประเมินตามแบบสอบถามประเมินคุณภาพ แบ่งออกเป็น 3 ตอนคือ ตอนที่ 1) ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2) สอบถามความพึงพอใจในด้านการออกแบบ ตอนที่ 3) สอบถามความพึงพอใจด้านการใช้งาน เพื่อแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ


        ผลการวิจับพบว่า ผลการศึกษาความพึงพอใจด้านการออกแบบชิ้นงานมีความพึงพอใจในระดับมาก) ด้านการนำไปใช้งานมีความพึงพอใจระดับมากกล่องเก็บพลังงานอเนกประสงค์สามารถใช้งานได้ตามระยะเวลาที่กำหนดมีความปลอดภัยต่อการใช้งาน ผลการทดลองสรุปได้ว่าในการทดลอง 5 ครั้ง ได้อัตราการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ดังนี้ พัดลมขนาด 18 นิ้ว 220 โวลต์ 1แอมป์ 199 วัตต์ ค่าเฉลี่ย 4.4 ชั่วโมง เครื่องซักผ้า 220 โวลต์ 3 แอมป์ 625 วัตต์ ค่าเฉลี่ย 1.6 ชั่วโมง ชาร์จโทรศัพท์มือถือขนาด 5 โวลต์ 2.4 แอมป์ 12 วัตต์ ค่าเฉลี่ย 58.6 ชั่วโมง การทดลองนี้เป็นการทดลอง การใช้งานเพียง 1 อุปกรณ์หากใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆพร้อมกัน จำนวนชั่วโมงการใช้งานกล่องเก็บพลังงานอเนกประสงค์จะน้อยลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

ชำนาญ ปาณาวงษ์, กองแก้ว เมทา, ชวนพิศ เหล็กใหล, พจีพร ศรีแก้ว, และ วัชรีย์ บัวเพ็ง. (2559).รายงานวิจัยเรื่องสาเหตุและแนวทางในการป้องกันการออกกลางคันของนักเรียน กรณีศึกษา: โรงเรียนบ้านบางโพธิ์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เกรียงศักดิ์ รักภักดี, ปราโมทย์ นามวงศ์, ไมตรี ริมทอง, และวชิระ โมราชาติ. (2560).

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดอุบลราชธานีผ่านระบบดาวเทียมบอกพิกัด. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 12(2), 84-91.

ปฐมพงษ์ ฉับพลัน, และฐิมาพร เพชรแก้ว. (2010). การประยุกต์ใช้ Google Maps API

ในการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด. NCIT 2010. สำนักวิชาการสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราช.

เสาวนี ศรีสุวรรณ, เอกรินทร์ เหลืองวิลัย, เทพฤทธิ์ รัตนปัญญากร, และธนัย ตันวานิช.

(2561). การพัฒนาระบบระบุตำแหน่งอุปกรณ์บนทางพิเศษโดยใช้แอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา,

(1), 42-52

กิตติ ภักดีวัฒนะกุล. และพนิดา พานิชกุล. (2551). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ.

(พิมพครั้งที่7)กรุงเทพมหานคร : เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์.

ธิติพร ชาญศิริวัฒน์ (2564). การพัฒนาระบบติดตามพฤติกรรมการเข้าห้องเรียนด้วย

คิวอาร์โค้ดกรณีศึกษาวิทยาลัยครูปากเซ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต.

คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.